แนะนำหนังสือ "จีนในโลกสมัยใหม่"
จีนในโลกสมัยใหม่ (ค.ศ.1644-1949) สิทธิพล เครือรัฐติกาล เขียน พิมพ์ครั้งที่ 1 ธันวาคม 2549, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรังสิต หนา 108 หน้า ราคา 150 บาท
จีนในโลกสมัยใหม่ (ค.ศ.1644-1949) เป็นตำราเล่มหนึ่งสำหรับรายวิชา ICS 601 ประวัติศาสตร์จีนและพัฒนาการสังคมจีน ของหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจีนในระบบเศรษฐกิจโลก วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
แม้จะจัดว่าเป็น "หนังสือเรียน" แต่ก็ยังเหมาะกับบุคคลผู้สนใจโดยทั่วไปอีกด้วย เพราะเนื้อหาทางประวัติศาสตร์ที่ครอบคลุมเวลา 300 ปีที่บรรจุในหนังสือเล่มนี้ อาจารย์สิทธิพล นักวิชาการสายจีนศึกษารุ่นใหม่ สามารถนำเสนอเรื่องราวที่ยุ่งยากซับซ้อนเหล่านั้นไว้ได้อย่างสั้น กระชับ เข้าใจง่าย
"จุดเด่นที่สำคัญของหนังสือเล่มนี้คือ การเสนอเรื่องราวในประวัติศาสตร์ด้วยความพยายามให้เป็น "ภววิสัย" มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เนื้อหาประวัติศาสตร์ในหนังสือเล่มนี้ จึงไม่มีลักษณะสุดโต่งไปข้างใดข้างหนึ่ง แม้แต่บทบาทของ "ซูสีไทเฮา" ที่มักมีความโน้มเอียงตามแนวคิดของนักเขียนนักวิชาการของจีน รวมทั้งหนังสือ "จีนศึกษา" ทั่วไปที่วางแผงอยู่ในเมืองไทย ผู้เขียนประวัติศาสตร์นิพนธ์ราชวงศ์แมนจูได้นำเสนอด้วยความระมัดระวังและเที่ยงธรรม โดยมีความสำเหนียกถึงความสลับซับซ้อนของเหตุการณ์ในยุคสมัยปลายราชวงศ์แมนจูปกครองแผ่นดินอันยิ่งใหญ่ไพศาลของจีนด้วยความยากลำบาก.." นั่นคือส่วนหนึ่งจากคำนำที่ค่อนไปในทางคำนิยม จากศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.ชลธิรา สัตยาวัฒนา ประธานคณะกรรมบริหารหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจีนในระบบเศรษฐกิจโลก
จะจริงอย่างที่นิยมยกย่องกันหรือไม่ คงต้องเป็นหน้าที่ของผู้ใฝ่รู้ด้านจีนศึกษา ต้องหามาอ่านกันต่อไป
จีนในโลกสมัยใหม่ (ค.ศ.1644-1949) เป็นตำราเล่มหนึ่งสำหรับรายวิชา ICS 601 ประวัติศาสตร์จีนและพัฒนาการสังคมจีน ของหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจีนในระบบเศรษฐกิจโลก วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
แม้จะจัดว่าเป็น "หนังสือเรียน" แต่ก็ยังเหมาะกับบุคคลผู้สนใจโดยทั่วไปอีกด้วย เพราะเนื้อหาทางประวัติศาสตร์ที่ครอบคลุมเวลา 300 ปีที่บรรจุในหนังสือเล่มนี้ อาจารย์สิทธิพล นักวิชาการสายจีนศึกษารุ่นใหม่ สามารถนำเสนอเรื่องราวที่ยุ่งยากซับซ้อนเหล่านั้นไว้ได้อย่างสั้น กระชับ เข้าใจง่าย
"จุดเด่นที่สำคัญของหนังสือเล่มนี้คือ การเสนอเรื่องราวในประวัติศาสตร์ด้วยความพยายามให้เป็น "ภววิสัย" มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เนื้อหาประวัติศาสตร์ในหนังสือเล่มนี้ จึงไม่มีลักษณะสุดโต่งไปข้างใดข้างหนึ่ง แม้แต่บทบาทของ "ซูสีไทเฮา" ที่มักมีความโน้มเอียงตามแนวคิดของนักเขียนนักวิชาการของจีน รวมทั้งหนังสือ "จีนศึกษา" ทั่วไปที่วางแผงอยู่ในเมืองไทย ผู้เขียนประวัติศาสตร์นิพนธ์ราชวงศ์แมนจูได้นำเสนอด้วยความระมัดระวังและเที่ยงธรรม โดยมีความสำเหนียกถึงความสลับซับซ้อนของเหตุการณ์ในยุคสมัยปลายราชวงศ์แมนจูปกครองแผ่นดินอันยิ่งใหญ่ไพศาลของจีนด้วยความยากลำบาก.." นั่นคือส่วนหนึ่งจากคำนำที่ค่อนไปในทางคำนิยม จากศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.ชลธิรา สัตยาวัฒนา ประธานคณะกรรมบริหารหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจีนในระบบเศรษฐกิจโลก
จะจริงอย่างที่นิยมยกย่องกันหรือไม่ คงต้องเป็นหน้าที่ของผู้ใฝ่รู้ด้านจีนศึกษา ต้องหามาอ่านกันต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น