ประวัติเพลงชาติจีน
ในรอบหนึ่งปีชาวจีนแผ่นดินใหญ่จะมีวันหยุดยาวรวม 3 ครั้ง ได้แก่ วันหยุดเนื่องในโอกาสตรุษจีนช่วงปลายเดือนมกราคม วันหยุดเนื่องในโอกาสวันแรงงานช่วงต้นเดือนพฤษภาคม และวันหยุดเนื่องในโอกาสวันชาติช่วงต้นเดือนตุลาคม ในบรรดาวันหยุดทั้งหลายเหล่านี้ วันที่ดูจะเกี่ยวโยงกับประวัติศาสตร์และความเป็นมาของประเทศจีนปัจจุบันมากที่สุดก็คือวันชาติของจีน ซึ่งตรงกับวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี เพราะในวันดังกล่าวเมื่อ ค.ศ. 1949 เหมาเจ๋อตง (毛泽东) ประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน ได้ประกาศสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน (中华人民共和国) ขึ้น ณ จัตุรัสเทียนอันเหมิน (天安门)ใจกลางกรุงปักกิ่ง ดังนั้นในวันชาติของทุกปีจะมีการประกอบรัฐพิธี ณ จัตุรัสดังกล่าวเพื่อรำลึกถึงการสถาปนาประเทศ ธงชาติจีนจะได้รับการเชิญขึ้นสู่ยอดเสาและเพลงชาติจีนก็จะดังขึ้นอย่างไพเราะ
เราทั้งหลายคงจะเคยได้ยินได้ฟังเพลงชาติจีนกันมาบ้างแล้ว โดยเฉพาะในช่วงการแข่งขันกีฬาระดับสากลอย่างเอเชียนเกมส์และโอลิมปิกที่นักกีฬาจากจีนจำนวนไม่น้อยได้คว้าเหรียญทองและขึ้นแท่นรับเหรียญพร้อมกับเคารพธงชาติ เพลงชาติของจีนมีท่วงทำนองท่าไพเราะและน่าซึ้งใจ แม้ผู้ที่ไม่รู้ภาษาจีนก็ยังรู้สึกได้ ดังนั้นสำหรับชาวจีนหรือเป็นผู้ที่รู้เรื่องจีนนั้นจะตระหนักดีว่า เพลงชาติจีนสะท้อนความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ของประเทศจีนปัจจุบัน และเป็นประวัติศาสตร์ที่มิได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ หากแต่สร้างขึ้นด้วย “หยาดเหงื่อและน้ำตา” ของประชาชนจีนหลายร้อยล้านคน
เพลงชาติจีนในปัจจุบันมีชื่อเดิมว่า มาร์ชอาสาสมัคร (义勇军进行曲) ผู้แต่งทำนองคือ เนี่ยเอ๋อร์ (聂耳 ค.ศ. 1912-1935) คำร้องโดย เถียนฮั่น (田汉 ค.ศ. 1898-1968) แต่งขึ้นใน ค.ศ. 1932 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ญี่ปุ่นได้ส่งกองทัพเข้ายึดภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีนที่เรารู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า แมนจูเรีย เพลงมาร์ชอาสาสมัครจึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายด้วยท่วงทำนองและคำร้องที่ปลุกใจให้ชาวจีนจับมือกันต่อสู้กับการรุกรานของญี่ปุ่น เนื้อเพลงดังกล่าวมีดังนี้
มาร์ชอาสามัคร
Yiyongjun Jinxingqu
ลุกขึ้นเถิดชาวจีนผู้ไม่ยอมเป็นทาส ด้วยเลือดเนื้อของเราจงมาสร้างกำแพงใหญ่กันอีกครั้งชนชาติจีนมาถึงช่วงวิกฤติที่สุดแล้ว เราทุกคนต้องเปล่งเสียงออกมาให้ถึงที่สุดลุกขึ้นลุกขึ้นลุกขึ้น รวมใจนับล้านให้เป็นหนึ่งเข้าประจัญหน้ากับปืนใหญ่ของศัตรู
เดินไปข้างหน้า เข้าประจัญหน้ากับปืนใหญ่ของศัตรู
เดินไปข้างหน้า
เดินไปข้างหน้า
เดินไปข้างหน้า
ข้างหน้า
Qilai!Buyuanzuo nulide renmen!Bawomende xierou, zhucheng women xinde changcheng!Zhonghua minzu daole zuiweixiande shihou,meigeren beipozhe fachu zuihoude housheng.Qilai!Qilai!Qilai!Women wanzhongyixing,maozhe dirende paohuo qianjin!Maozhe dirende paohuo qianjin!Qianjin!Qianjin!Jin!
แม้ว่าต่อมาใน ค.ศ. 1945 สงครามกับญี่ปุ่นจะสิ้นสุดลงพร้อมกับชัยชนะของจีน หากแต่เพลงมาร์ชอาสาสมัครก็ไม่ได้เสื่อมความนิยมลงไป เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์สามารถยึดอำนาจรัฐได้ในกลาง ค.ศ. 1949 ก็ได้มีการพิจารณาเรื่องเพลงชาติจีน ในที่สุดเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 1949 หรือ 3 วันก่อนการประกาศสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการ พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ประกาศให้เพลงมาร์ชอาสาสมัครเป็นเพลงชาติเฉพาะกาลของจีนใหม่
เพลงมาร์ชอาสาสมัครมีสถานะเป็นเพลงชาติเฉพาะกาลของจีนเรื่อยมาตราบจนถึง ค.ศ. 1966 เมื่อเกิดการปฏิวัติวัฒนธรรม (文化大革命) ผู้นำฝ่ายซ้ายจัดของจีนที่เทิดทูนอุดมการณ์ปฏิวัติของเหมาเจ๋อตงได้เข้ากุมอำนาจรัฐ มาร์ชอาสาสมัครจึงถูกแทนที่ด้วยเพลงตงฟางหง (东方红) หรือบูรพาแดง อันมีเนื้อหายกย่องเหมาเจ๋อตงประดุจเทพเจ้า ช่วงนั้นเถียนฮั่น ผู้แต่งคำร้องมาร์ชอาสาสมัครถูกจับเข้าคุกและเสียชีวิตใน ค.ศ. 1968
หลังการอสัญกรรมของเหมาเจ๋อตงใน ค.ศ. 1976 พรรคคอมมิวนิสต์จีนภายใต้การนำของ ฮว่ากว๋อเฟิง(华国锋) ได้นำเอาทำนองเพลงมาร์ชอาสาสมัครกลับมาใช้เป็นเพลงชาติอีกครั้ง แต่ในส่วนของเนื้อร้องนั้นมิได้ยึดตามแบบที่เถียนฮั่นแต่งไว้ หากแต่ได้แก้ไขคำร้องให้เน้นไปที่การยกย่องอุดมการณ์ของเหมาเจ๋อตงผู้ล่วงลับ มาร์ชอาสาสมัครเวอร์ชั่นแก้ไขนี้ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควรโดยเฉพาะในหมู่ผู้นำจีนหลายคนที่ได้รับผลในทางลบจากการปฏิวัติวัฒนธรรม ในที่สุดเพลงเวอร์ชั่นนี้ก็ตกไปพร้อมกับการสิ้นสุดอำนาจของฮั่วกว๋อเฟิงในต้นทศวรรษที่ 1980 ต่อมาในวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1982 สภาประชาชนแห่งชาติจีนได้มีมติให้รื้อฟื้นเพลงมาร์ชอาสาสมัครเวอร์ชั่นเดิมของเนี่ยเอ๋อร์และเถียนฮั่นขึ้น และประกาศให้เป็นเพลงชาติของสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการนับแต่นั้นเป็นต้นมา
จะเห็นได้ว่าเพลงชาติของจีนมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานและสามารถบอกเล่าภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ของสาธารณรัฐประชาชนจีนได้อย่างลึกซึ้ง ดังนั้นสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาและทำความเข้าใจกับประเทศจีนอย่างจริงจัง การศึกษาความเป็นมาของเพลงชาติจีนก็น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีได้
ในรอบหนึ่งปีชาวจีนแผ่นดินใหญ่จะมีวันหยุดยาวรวม 3 ครั้ง ได้แก่ วันหยุดเนื่องในโอกาสตรุษจีนช่วงปลายเดือนมกราคม วันหยุดเนื่องในโอกาสวันแรงงานช่วงต้นเดือนพฤษภาคม และวันหยุดเนื่องในโอกาสวันชาติช่วงต้นเดือนตุลาคม ในบรรดาวันหยุดทั้งหลายเหล่านี้ วันที่ดูจะเกี่ยวโยงกับประวัติศาสตร์และความเป็นมาของประเทศจีนปัจจุบันมากที่สุดก็คือวันชาติของจีน ซึ่งตรงกับวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี เพราะในวันดังกล่าวเมื่อ ค.ศ. 1949 เหมาเจ๋อตง (毛泽东) ประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน ได้ประกาศสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน (中华人民共和国) ขึ้น ณ จัตุรัสเทียนอันเหมิน (天安门)ใจกลางกรุงปักกิ่ง ดังนั้นในวันชาติของทุกปีจะมีการประกอบรัฐพิธี ณ จัตุรัสดังกล่าวเพื่อรำลึกถึงการสถาปนาประเทศ ธงชาติจีนจะได้รับการเชิญขึ้นสู่ยอดเสาและเพลงชาติจีนก็จะดังขึ้นอย่างไพเราะ
เราทั้งหลายคงจะเคยได้ยินได้ฟังเพลงชาติจีนกันมาบ้างแล้ว โดยเฉพาะในช่วงการแข่งขันกีฬาระดับสากลอย่างเอเชียนเกมส์และโอลิมปิกที่นักกีฬาจากจีนจำนวนไม่น้อยได้คว้าเหรียญทองและขึ้นแท่นรับเหรียญพร้อมกับเคารพธงชาติ เพลงชาติของจีนมีท่วงทำนองท่าไพเราะและน่าซึ้งใจ แม้ผู้ที่ไม่รู้ภาษาจีนก็ยังรู้สึกได้ ดังนั้นสำหรับชาวจีนหรือเป็นผู้ที่รู้เรื่องจีนนั้นจะตระหนักดีว่า เพลงชาติจีนสะท้อนความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ของประเทศจีนปัจจุบัน และเป็นประวัติศาสตร์ที่มิได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ หากแต่สร้างขึ้นด้วย “หยาดเหงื่อและน้ำตา” ของประชาชนจีนหลายร้อยล้านคน
เพลงชาติจีนในปัจจุบันมีชื่อเดิมว่า มาร์ชอาสาสมัคร (义勇军进行曲) ผู้แต่งทำนองคือ เนี่ยเอ๋อร์ (聂耳 ค.ศ. 1912-1935) คำร้องโดย เถียนฮั่น (田汉 ค.ศ. 1898-1968) แต่งขึ้นใน ค.ศ. 1932 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ญี่ปุ่นได้ส่งกองทัพเข้ายึดภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีนที่เรารู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า แมนจูเรีย เพลงมาร์ชอาสาสมัครจึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายด้วยท่วงทำนองและคำร้องที่ปลุกใจให้ชาวจีนจับมือกันต่อสู้กับการรุกรานของญี่ปุ่น เนื้อเพลงดังกล่าวมีดังนี้
มาร์ชอาสามัคร
Yiyongjun Jinxingqu
ลุกขึ้นเถิดชาวจีนผู้ไม่ยอมเป็นทาส ด้วยเลือดเนื้อของเราจงมาสร้างกำแพงใหญ่กันอีกครั้งชนชาติจีนมาถึงช่วงวิกฤติที่สุดแล้ว เราทุกคนต้องเปล่งเสียงออกมาให้ถึงที่สุดลุกขึ้นลุกขึ้นลุกขึ้น รวมใจนับล้านให้เป็นหนึ่งเข้าประจัญหน้ากับปืนใหญ่ของศัตรู
เดินไปข้างหน้า เข้าประจัญหน้ากับปืนใหญ่ของศัตรู
เดินไปข้างหน้า
เดินไปข้างหน้า
เดินไปข้างหน้า
ข้างหน้า
Qilai!Buyuanzuo nulide renmen!Bawomende xierou, zhucheng women xinde changcheng!Zhonghua minzu daole zuiweixiande shihou,meigeren beipozhe fachu zuihoude housheng.Qilai!Qilai!Qilai!Women wanzhongyixing,maozhe dirende paohuo qianjin!Maozhe dirende paohuo qianjin!Qianjin!Qianjin!Jin!
แม้ว่าต่อมาใน ค.ศ. 1945 สงครามกับญี่ปุ่นจะสิ้นสุดลงพร้อมกับชัยชนะของจีน หากแต่เพลงมาร์ชอาสาสมัครก็ไม่ได้เสื่อมความนิยมลงไป เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์สามารถยึดอำนาจรัฐได้ในกลาง ค.ศ. 1949 ก็ได้มีการพิจารณาเรื่องเพลงชาติจีน ในที่สุดเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 1949 หรือ 3 วันก่อนการประกาศสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการ พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ประกาศให้เพลงมาร์ชอาสาสมัครเป็นเพลงชาติเฉพาะกาลของจีนใหม่
เพลงมาร์ชอาสาสมัครมีสถานะเป็นเพลงชาติเฉพาะกาลของจีนเรื่อยมาตราบจนถึง ค.ศ. 1966 เมื่อเกิดการปฏิวัติวัฒนธรรม (文化大革命) ผู้นำฝ่ายซ้ายจัดของจีนที่เทิดทูนอุดมการณ์ปฏิวัติของเหมาเจ๋อตงได้เข้ากุมอำนาจรัฐ มาร์ชอาสาสมัครจึงถูกแทนที่ด้วยเพลงตงฟางหง (东方红) หรือบูรพาแดง อันมีเนื้อหายกย่องเหมาเจ๋อตงประดุจเทพเจ้า ช่วงนั้นเถียนฮั่น ผู้แต่งคำร้องมาร์ชอาสาสมัครถูกจับเข้าคุกและเสียชีวิตใน ค.ศ. 1968
หลังการอสัญกรรมของเหมาเจ๋อตงใน ค.ศ. 1976 พรรคคอมมิวนิสต์จีนภายใต้การนำของ ฮว่ากว๋อเฟิง(华国锋) ได้นำเอาทำนองเพลงมาร์ชอาสาสมัครกลับมาใช้เป็นเพลงชาติอีกครั้ง แต่ในส่วนของเนื้อร้องนั้นมิได้ยึดตามแบบที่เถียนฮั่นแต่งไว้ หากแต่ได้แก้ไขคำร้องให้เน้นไปที่การยกย่องอุดมการณ์ของเหมาเจ๋อตงผู้ล่วงลับ มาร์ชอาสาสมัครเวอร์ชั่นแก้ไขนี้ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควรโดยเฉพาะในหมู่ผู้นำจีนหลายคนที่ได้รับผลในทางลบจากการปฏิวัติวัฒนธรรม ในที่สุดเพลงเวอร์ชั่นนี้ก็ตกไปพร้อมกับการสิ้นสุดอำนาจของฮั่วกว๋อเฟิงในต้นทศวรรษที่ 1980 ต่อมาในวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1982 สภาประชาชนแห่งชาติจีนได้มีมติให้รื้อฟื้นเพลงมาร์ชอาสาสมัครเวอร์ชั่นเดิมของเนี่ยเอ๋อร์และเถียนฮั่นขึ้น และประกาศให้เป็นเพลงชาติของสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการนับแต่นั้นเป็นต้นมา
จะเห็นได้ว่าเพลงชาติของจีนมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานและสามารถบอกเล่าภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ของสาธารณรัฐประชาชนจีนได้อย่างลึกซึ้ง ดังนั้นสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาและทำความเข้าใจกับประเทศจีนอย่างจริงจัง การศึกษาความเป็นมาของเพลงชาติจีนก็น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น