วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ขอเชิญฟังการสอบวิทยานิพนธ์


ด้วยโครงการปริญญาเอกสหวิทยาการ วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะดำเนินการจัดสอบวิทยานิพนธ์ให้แก่นักศึกษาปริญญาเอก ซึ่งในการนี้โครงการฯ ได้เปิดโอกาสให้สาธารณชนเข้าร่วมรับฟังได้ โดยมีรายละเอียดดังนี้

ชื่อ - สกุลของนักศึกษา: นายสิทธิพล เครือรัฐติกาล

หัวข้อวิทยานิพนธ์: ภาพลักษณ์ของเจิ้งเหอในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของจีน

วัน/เดือน/ปี เวลา/สถานที่สอบ:
9 ธันวาคม 2553
เวลา 14.00-17.00 น.
วิทยาลัยสหวิทยาการ
อาคารเอนกประสงค์ 1 ชั้น 5
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

รายชื่อคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์:
1. รศ.ดร.โคริน เฟื่องเกษม ประธานกรรมการ
2. รศ.อาทร ฟุ้งธรรมสาร กรรมการ
3. รศ.วุฒิชัย มูลศิลป์ กรรมการ
4. ผศ.ดร.จุฬาพร เอื้อรักสกุล
กรรมการและอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก
5. รศ.ปกรณ์ ลิมปนุสรณ์
กรรมการและอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม

ผลการสอบ: ผ่าน (โดยกรรมการสอบขอให้เขียนปรับปรุงบทสรุปของวิทยานิพนธ์ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น) และวิทยานิพนธ์ได้รับการอนุมัติเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2554

บทความเรื่อง "วิวาทะเกี่ยวกับสาเหตุการเดินเรือของเจิ้งเหอในต้นราชวงศ์หมิง"


บทความของข้าพเจ้าเรื่อง
"วิวาทะเกี่ยวกับสาเหตุการเดินเรือของเจิ้งเหอ
ในต้นราชวงศ์หมิง"
ในหนังสือ เหตุเกิดในราชวงศ์หมิง

หนังสือรวบรวมผลงานของนักวิชาการจีนศึกษารุ่นใหม่
ในโครงการประชุมทางวิชาการ จัดโดยโครงการจีนศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา ศูนย์การเรียนรู้จีนศึกษาบรมราชกุมารี และโครงการปริญญาโทวัฒนธรรมจีนศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สำนักพิมพ์ชวนอ่าน พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2553
ISBN 978-616-90119-3-4

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

บทความเรื่อง "เจิ้งเหอในฐานะทูตสันติภาพของจีน: เรื่องจริงหรืออิงนิยาย?"



บทความของข้าพเจ้าเรื่อง
"เจิ้งเหอในฐานะทูตสันติภาพของจีน: เรื่องจริงหรืออิงนิยาย?"
(Zheng He as China's "Peace Envoy": Reality or Myth?)
ใน วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง
ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2553
http://mekongjournal.net/

http://mekongjournal.net/images/mekong/th62_01.pdf

บทคัดย่อ
ใน ค.ศ. 2005 ทางการสาธารณรัฐประชาชนจีนได้จัดงานเฉลิมฉลอง 600 ปี การเดินเรือของเจิ้งเหอ โดยนำเสนอว่าบุคคลผู้นี้เป็น “ทูตสันติภาพ” และเป็นสัญลักษณ์แห่งจิตวิญญาณของการเป็นเพื่อนบ้านที่ดีของจีน อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์แล้วจะพบว่า เจิ้งเหอได้ใช้กำลังเข้าจัดการกับผู้ปกครองที่ไม่ยอมรับอำนาจความเป็นใหญ่ของจีน พฤติกรรมของเขาสะท้อนให้เห็นถึงนโยบายจักรวรรดินิยมของจีนในต้นราชวงศ์หมิง ด้วยเหตุนี้เจิ้งเหอจึงไม่อาจทำหน้าที่ในการสร้างอำนาจในการดึงดูดความนิยม (soft power) ให้กับจีนในเรื่องสันติภาพได้อย่างแท้จริง

Abstract

The People’s Republic of China celebrated the 600th anniversary of Admiral Zheng He’s maritime expeditions in 2005 by presenting him as “peace envoy” who symbolized the Chinese spirit of good neighbourliness. However, historical da...ta reveal Zheng He’s use of forces against foreign rulers who refused to acknowledge China’s supremacy, reflecting the early Ming dynasty’s imperialist policy. As a result, Zheng He could not be used as a source of “soft power” to convince the world of China’s pacifist tradition.