นโยบายต่างประเทศของจีนต่อพม่าและความสัมพันธ์จีน-พม่าในยุคปฏิรูปเศรษฐกิจ
Wang Jun-fu[1] ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับพม่าโดยย้อนไปถึงสายสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์โดยเฉพาะการที่ชาวจีนและชาวพม่ามีบทบาทร่วมกันในการต่อต้านจักรวรรดินิยมญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่สอง และยังได้กล่าวถึงมิตรภาพระหว่างอดีตนายกรัฐมนตรีโจวเอินไหล (Zhou Enlai) ของจีนและอดีตนายกรัฐมนตรีอูนุ (U Nu) ของพม่า ซึ่งทั้งสองต่างยึดมั่นในหลักปัญจศีล (The Five Principles of Peaceful Coexistence) ในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และเมื่อถึงยุคปฏิรูปเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับพม่าก็ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในของกันและกัน (non-interference) การแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจซึ่งกันและกัน และความร่วมมือกันในการปราบปรามอาชญากรรมและยาเสพย์ติดข้ามชาติ
สารนิพนธ์ของสุรีย์ ไตรรัตนนุกูล[2] และวิทยานิพนธ์ของฐิติพร จิระสวัสดิ์[3] ได้ชี้ให้เห็นตรงกันว่าการที่จีนกระชับความสัมพันธ์กับพม่าตั้งแต่ ค.ศ. 1988 เป็นต้นมานั้นมีที่มาจากปัจจัยทางเศรษฐกิจเป็นหลัก นั่นคือความพยายามหาทางพัฒนาเศรษฐกิจให้แก่มณฑลทางใต้ของประเทศที่ยังล้าหลังอยู่ให้มีความเจริญทัดเทียมดินแดนส่วนอื่นๆ โดยเฉพาะส่วนที่อยู่ใกล้ชายฝั่งทะเล ดังนั้นพม่าจึงมีประโยชน์สำหรับจีนในแง่ที่เป็นตลาดส่งออกสินค้าอุปโภค-บริโภค เป็นประตูสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นช่องทางที่จะทำให้ทุนต่างชาติไหลเข้าไปยังมณฑลหยุนหนานได้สะดวกมากขึ้น โดยที่จีนได้ดำเนินนโยบายต่อพม่าในหลายรูปแบบ ได้แก่ (1) การให้การสนับสนุนด้านการเมืองแก่พม่าในเวทีระหว่างประเทศ (2) ความร่วมมือด้านการค้าชายแดน (3) ความสนับสนุนทางการทหาร (4) การถอนการสนับสนุนที่ให้แก่กองกำลังต่อต้านรัฐบาลพม่า และ (5) ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ
Poon Kim Shee[4] ได้ชี้ให้เห็นว่า นอกจากพม่าจะมีความสำคัญต่อจีนในทางเศรษฐกิจแล้ว พม่ายังมีความสำคัญต่อจีนในทางยุทธศาสตร์อีกด้วย นั่นคือการเป็นสะพานให้จีนสามารถขยายแสนยานุภาพของตนเข้าไปในมหาสมุทรอินเดียได้ รวมทั้งยังช่วยให้จีนสามารถสกัดกั้นอิทธิพลของอินเดียได้สะดวกขึ้น อย่างไรก็ตามสำนึกชาตินิยมของพม่า รวมทั้งความพยายามของพม่านับแต่อดีตที่จะรักษาความเป็นตัวของตัวเองไว้ทั้งในด้านการต่างประเทศและในด้านวัฒนธรรมจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้จีนไม่อาจขยายอิทธิพลในพม่าได้อย่างเต็มที่ อย่างน้อยก็ในระยะอันใกล้นี้ และแม้ว่าความสัมพันธ์จีน-พม่าจะเป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศใหญ่กับประเทศเล็กที่ดูไม่เท่าเทียมกัน หากแต่โดยเนื้อหาสาระแล้วต่างฝ่ายต่างตอบแทนกัน (reciprocal) และได้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน (mutually beneficial)
Maung Aung Myoe[5] ได้ให้มุมมองที่ต่างออกไปว่า ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างจีนกับพม่านั้นเป็นไปตามทฤษฎีระบบโลกใหม่ (Modern World System Theory) ที่ประเทศที่เป็นศูนย์กลาง (core) ตักตวงผลประโยชน์และความมั่งคั่งจากประเทศชายขอบ (periphery) ดังจะเห็นได้ว่าสินค้าที่พม่าส่งออกไปยังจีนมักเป็นทรัพยากรธรรมชาติโดยเฉพาะไม้ (timber) ซึ่งถ้าทรัพยากรเหล่านี้หมดไป ปริมาณการส่งออกสินค้าของพม่าไปยังจีนจะลดต่ำลงทันที ขณะที่พม่าต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าอุปโภค-บริโภคจากจีนเป็นจำนวนมาก
พรพิมล ตรีโชติ[6] ได้ศึกษาความสัมพันธ์จีน-พม่าโดยพิจารณาจากมุมมองของฝ่ายพม่าแล้วพบว่า พม่ามีความหวาดระแวงจีนมาช้านานแล้วตามประวัติศาสตร์ การที่พม่าตั้งแต่ ค.ศ. 1988 เป็นต้นมายอมให้จีนเข้ามามีบทบาทในประเทศของตนนั้นเป็นไปด้วยความจำยอม เนื่องจากพม่าถูกโดดเดี่ยวและถูกตัดความช่วยเหลือจากต่างประเทศหลังจากที่รัฐบาลทหารไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1990 ดังนั้นพม่าจึงดำเนินนโยบายต่อจีนอย่างระมัดระวัง และหากมีโอกาสพม่าก็จะพยายามหาทางออกให้กับตนเองเพื่อที่จะได้ไม่ต้องพึ่งพาจีนมากเกินไป ดังจะเห็นได้จากการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน (ASEAN) ของพม่าเมื่อ ค.ศ. 1997 และพม่าก็มิได้ตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของจีนทุกประการเสมอไป ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นเป็นรูปธรรมคือการที่พม่าไม่ยินยอมระเบิดแก่งหินในแม่น้ำโขงในส่วนที่อยู่ในเขตพม่าเพื่อเปิดทางให้กับการเดินเรือในแม่น้ำโขงจากจีนสู่ไทย ดังนั้นคำกล่าวที่ว่าพม่าเป็น “รัฐบริวาร” (client state) ของจีนจึงไม่น่าจะถูกต้อง
ในส่วนของผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับพม่าตั้งแต่ ค.ศ. 1988 เป็นต้นมานั้น Lixin Geng[7] และ David Arnott[8] มองว่าปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นหลังการเปิดพรมแดนระหว่างสองประเทศนั้นมีอยู่ 2 ประการหลักๆคือ (1) ปัญหายาเสพย์ติด และ (2) ปัญหาโรคเอดส์ ซึ่งปัญหาทั้งสองปรากฏชัดในมณฑลหยุนหนานซึ่งติดกับพม่า และทำให้มณฑลดังกล่าวเป็นมณฑลที่มีอัตราผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี (HIV) มากที่สุดในประเทศจีน ทั้งนี้ Arnott มองว่าการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดเพื่อผลประโยชน์ของจีนในระยะยาวก็คือ การที่จีนต้องกระตุ้นให้เกิดกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยในพม่า เพื่อให้พม่าได้มีรัฐบาลที่สามารถบริหารจัดการและแก้ปัญหาของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ส่วน Mya Maung[9] ได้ชี้ให้เห็นว่า การเปิดพรมแดนจีน-พม่านำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงในสังคมพม่า โดยเฉพาะในแถบพม่าตอนบน (Upper Burma) บริเวณเมืองมัณฑะเลย์ (Mandalay) โดยพ่อค้าชาวจีนได้เข้ามาครอบงำเศรษฐกิจและสังคมพม่าจนทำให้พลเมืองพม่ากลายเป็นพลเมืองชั้นสองเหมือนเมื่อครั้งที่พม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ รัฐบาลพม่าจึงอยู่ในภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก (dilemma) ระหว่างการเปิดพรมแดนกับจีนเพื่อพยุงระบบเศรษฐกิจเอาไว้กับการที่ชาวจีนเข้ามามีบทบาทครอบงำเศรษฐกิจและสังคมของพม่า
[1] Wang Jun-fu, “Sino-Myanmar Relation and Its Prospects,” paper presented at the conference on “Myanmar Towards the 21st Century: Dynamics of Continuity and Change” at Rimkok Hotel, Chiang Rai, Thailand. 1-3 June 1995.
[2] สุรีย์ ไตรรัตนนุกูล, การดำเนินนโยบายของจีนต่อพม่าระหว่างปี 2531-2536 (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการระหว่างประเทศและการทูต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2538).
[3] ฐิติพร จิระสวัสดิ์, นโยบายต่างประเทศของจีนต่อพม่าช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1988-1997 (กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543).
[4] Poon Kim Shee, “The Political Economy of China-Myanmar Relations: Strategic and Economic Dimensions,” Ritsumeikan Annual Review of International Studies 1(2002): 33-53.
[5] Maung Aung Myoe, Sino-Myanmar Economic Relations Since 1988 (Singapore: National University of Singapore, Asia Research Institute Working Paper Series No. 86, 2007).
[6] พรพิมล ตรีโชติ, “จีนกับพม่า,” ใน จีนในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง, 309-380.
[7] Lixin Geng, “Sino-Myanmar Relations: Analysis and Prospects,” The Cultural Mandala 7:2 (December 2006); available from http://www.international-relations.com/CM7-2WB/Sino-Myanmar.htm; accessed 16 January 2007.
[8]David Arnott, “China-Burma Relations.,” in Challenges to Democratization in Burma: Perspectives on multilateral and bilateral responses, ed. Gillian Dwyer Stanbridge (Stockholm: International Institute for Democracy and Electoral Assistance Report, 2001), 69-86; available from http://www.idea.int/asia_pacific/burma/upload/challenges_to_democratization_in_ burma. pdf; accessed 1 December 2007.
[9] Mya Maung, “On the Road to Mandalay: A Case Study of the Sinonization of Upper Burma,” Asian Survey 34 (May 1994): 447-459.
Wang Jun-fu[1] ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับพม่าโดยย้อนไปถึงสายสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์โดยเฉพาะการที่ชาวจีนและชาวพม่ามีบทบาทร่วมกันในการต่อต้านจักรวรรดินิยมญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่สอง และยังได้กล่าวถึงมิตรภาพระหว่างอดีตนายกรัฐมนตรีโจวเอินไหล (Zhou Enlai) ของจีนและอดีตนายกรัฐมนตรีอูนุ (U Nu) ของพม่า ซึ่งทั้งสองต่างยึดมั่นในหลักปัญจศีล (The Five Principles of Peaceful Coexistence) ในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และเมื่อถึงยุคปฏิรูปเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับพม่าก็ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในของกันและกัน (non-interference) การแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจซึ่งกันและกัน และความร่วมมือกันในการปราบปรามอาชญากรรมและยาเสพย์ติดข้ามชาติ
สารนิพนธ์ของสุรีย์ ไตรรัตนนุกูล[2] และวิทยานิพนธ์ของฐิติพร จิระสวัสดิ์[3] ได้ชี้ให้เห็นตรงกันว่าการที่จีนกระชับความสัมพันธ์กับพม่าตั้งแต่ ค.ศ. 1988 เป็นต้นมานั้นมีที่มาจากปัจจัยทางเศรษฐกิจเป็นหลัก นั่นคือความพยายามหาทางพัฒนาเศรษฐกิจให้แก่มณฑลทางใต้ของประเทศที่ยังล้าหลังอยู่ให้มีความเจริญทัดเทียมดินแดนส่วนอื่นๆ โดยเฉพาะส่วนที่อยู่ใกล้ชายฝั่งทะเล ดังนั้นพม่าจึงมีประโยชน์สำหรับจีนในแง่ที่เป็นตลาดส่งออกสินค้าอุปโภค-บริโภค เป็นประตูสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นช่องทางที่จะทำให้ทุนต่างชาติไหลเข้าไปยังมณฑลหยุนหนานได้สะดวกมากขึ้น โดยที่จีนได้ดำเนินนโยบายต่อพม่าในหลายรูปแบบ ได้แก่ (1) การให้การสนับสนุนด้านการเมืองแก่พม่าในเวทีระหว่างประเทศ (2) ความร่วมมือด้านการค้าชายแดน (3) ความสนับสนุนทางการทหาร (4) การถอนการสนับสนุนที่ให้แก่กองกำลังต่อต้านรัฐบาลพม่า และ (5) ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ
Poon Kim Shee[4] ได้ชี้ให้เห็นว่า นอกจากพม่าจะมีความสำคัญต่อจีนในทางเศรษฐกิจแล้ว พม่ายังมีความสำคัญต่อจีนในทางยุทธศาสตร์อีกด้วย นั่นคือการเป็นสะพานให้จีนสามารถขยายแสนยานุภาพของตนเข้าไปในมหาสมุทรอินเดียได้ รวมทั้งยังช่วยให้จีนสามารถสกัดกั้นอิทธิพลของอินเดียได้สะดวกขึ้น อย่างไรก็ตามสำนึกชาตินิยมของพม่า รวมทั้งความพยายามของพม่านับแต่อดีตที่จะรักษาความเป็นตัวของตัวเองไว้ทั้งในด้านการต่างประเทศและในด้านวัฒนธรรมจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้จีนไม่อาจขยายอิทธิพลในพม่าได้อย่างเต็มที่ อย่างน้อยก็ในระยะอันใกล้นี้ และแม้ว่าความสัมพันธ์จีน-พม่าจะเป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศใหญ่กับประเทศเล็กที่ดูไม่เท่าเทียมกัน หากแต่โดยเนื้อหาสาระแล้วต่างฝ่ายต่างตอบแทนกัน (reciprocal) และได้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน (mutually beneficial)
Maung Aung Myoe[5] ได้ให้มุมมองที่ต่างออกไปว่า ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างจีนกับพม่านั้นเป็นไปตามทฤษฎีระบบโลกใหม่ (Modern World System Theory) ที่ประเทศที่เป็นศูนย์กลาง (core) ตักตวงผลประโยชน์และความมั่งคั่งจากประเทศชายขอบ (periphery) ดังจะเห็นได้ว่าสินค้าที่พม่าส่งออกไปยังจีนมักเป็นทรัพยากรธรรมชาติโดยเฉพาะไม้ (timber) ซึ่งถ้าทรัพยากรเหล่านี้หมดไป ปริมาณการส่งออกสินค้าของพม่าไปยังจีนจะลดต่ำลงทันที ขณะที่พม่าต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าอุปโภค-บริโภคจากจีนเป็นจำนวนมาก
พรพิมล ตรีโชติ[6] ได้ศึกษาความสัมพันธ์จีน-พม่าโดยพิจารณาจากมุมมองของฝ่ายพม่าแล้วพบว่า พม่ามีความหวาดระแวงจีนมาช้านานแล้วตามประวัติศาสตร์ การที่พม่าตั้งแต่ ค.ศ. 1988 เป็นต้นมายอมให้จีนเข้ามามีบทบาทในประเทศของตนนั้นเป็นไปด้วยความจำยอม เนื่องจากพม่าถูกโดดเดี่ยวและถูกตัดความช่วยเหลือจากต่างประเทศหลังจากที่รัฐบาลทหารไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1990 ดังนั้นพม่าจึงดำเนินนโยบายต่อจีนอย่างระมัดระวัง และหากมีโอกาสพม่าก็จะพยายามหาทางออกให้กับตนเองเพื่อที่จะได้ไม่ต้องพึ่งพาจีนมากเกินไป ดังจะเห็นได้จากการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน (ASEAN) ของพม่าเมื่อ ค.ศ. 1997 และพม่าก็มิได้ตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของจีนทุกประการเสมอไป ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นเป็นรูปธรรมคือการที่พม่าไม่ยินยอมระเบิดแก่งหินในแม่น้ำโขงในส่วนที่อยู่ในเขตพม่าเพื่อเปิดทางให้กับการเดินเรือในแม่น้ำโขงจากจีนสู่ไทย ดังนั้นคำกล่าวที่ว่าพม่าเป็น “รัฐบริวาร” (client state) ของจีนจึงไม่น่าจะถูกต้อง
ในส่วนของผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับพม่าตั้งแต่ ค.ศ. 1988 เป็นต้นมานั้น Lixin Geng[7] และ David Arnott[8] มองว่าปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นหลังการเปิดพรมแดนระหว่างสองประเทศนั้นมีอยู่ 2 ประการหลักๆคือ (1) ปัญหายาเสพย์ติด และ (2) ปัญหาโรคเอดส์ ซึ่งปัญหาทั้งสองปรากฏชัดในมณฑลหยุนหนานซึ่งติดกับพม่า และทำให้มณฑลดังกล่าวเป็นมณฑลที่มีอัตราผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี (HIV) มากที่สุดในประเทศจีน ทั้งนี้ Arnott มองว่าการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดเพื่อผลประโยชน์ของจีนในระยะยาวก็คือ การที่จีนต้องกระตุ้นให้เกิดกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยในพม่า เพื่อให้พม่าได้มีรัฐบาลที่สามารถบริหารจัดการและแก้ปัญหาของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ส่วน Mya Maung[9] ได้ชี้ให้เห็นว่า การเปิดพรมแดนจีน-พม่านำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงในสังคมพม่า โดยเฉพาะในแถบพม่าตอนบน (Upper Burma) บริเวณเมืองมัณฑะเลย์ (Mandalay) โดยพ่อค้าชาวจีนได้เข้ามาครอบงำเศรษฐกิจและสังคมพม่าจนทำให้พลเมืองพม่ากลายเป็นพลเมืองชั้นสองเหมือนเมื่อครั้งที่พม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ รัฐบาลพม่าจึงอยู่ในภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก (dilemma) ระหว่างการเปิดพรมแดนกับจีนเพื่อพยุงระบบเศรษฐกิจเอาไว้กับการที่ชาวจีนเข้ามามีบทบาทครอบงำเศรษฐกิจและสังคมของพม่า
[1] Wang Jun-fu, “Sino-Myanmar Relation and Its Prospects,” paper presented at the conference on “Myanmar Towards the 21st Century: Dynamics of Continuity and Change” at Rimkok Hotel, Chiang Rai, Thailand. 1-3 June 1995.
[2] สุรีย์ ไตรรัตนนุกูล, การดำเนินนโยบายของจีนต่อพม่าระหว่างปี 2531-2536 (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการระหว่างประเทศและการทูต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2538).
[3] ฐิติพร จิระสวัสดิ์, นโยบายต่างประเทศของจีนต่อพม่าช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1988-1997 (กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543).
[4] Poon Kim Shee, “The Political Economy of China-Myanmar Relations: Strategic and Economic Dimensions,” Ritsumeikan Annual Review of International Studies 1(2002): 33-53.
[5] Maung Aung Myoe, Sino-Myanmar Economic Relations Since 1988 (Singapore: National University of Singapore, Asia Research Institute Working Paper Series No. 86, 2007).
[6] พรพิมล ตรีโชติ, “จีนกับพม่า,” ใน จีนในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง, 309-380.
[7] Lixin Geng, “Sino-Myanmar Relations: Analysis and Prospects,” The Cultural Mandala 7:2 (December 2006); available from http://www.international-relations.com/CM7-2WB/Sino-Myanmar.htm; accessed 16 January 2007.
[8]David Arnott, “China-Burma Relations.,” in Challenges to Democratization in Burma: Perspectives on multilateral and bilateral responses, ed. Gillian Dwyer Stanbridge (Stockholm: International Institute for Democracy and Electoral Assistance Report, 2001), 69-86; available from http://www.idea.int/asia_pacific/burma/upload/challenges_to_democratization_in_ burma. pdf; accessed 1 December 2007.
[9] Mya Maung, “On the Road to Mandalay: A Case Study of the Sinonization of Upper Burma,” Asian Survey 34 (May 1994): 447-459.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น