ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจในทศวรรษ
1990
เศรษฐกิจของเกาหลีเหนือที่เน้นการพึ่งตนเองตามปรัชญาจูเชเริ่มประสบปัญหาเมื่อเข้าสู่ทศวรรษ
1980 ทำให้ใน ค.ศ. 1987 คิมอิลซุงประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจ
7 ปีฉบับใหม่ที่เน้นการพัฒนาเทคโนโลยีและพึ่งพาการค้าและการลงทุนจากต่างประเทศมากยิ่งขึ้น
แต่แล้วเกาหลีเหนือก็ถูกซ้ำเติมจากการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศของสหภาพโซเวียตซึ่งเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของเกาหลีเหนือในครึ่งหลังของทศวรรษ
1980 (ดูตารางที่ 3) โดยในเดือนพฤศจิกายน
ค.ศ. 1990 สหภาพโซเวียตได้แจ้งให้เกาหลีเหนือทราบว่านับจากนี้การค้าระหว่าง
2 ประเทศจะดำเนินไปตามราคาตลาดและใช้เงินตราสกุลแข็ง (hard
currency) เท่านั้น[1]
จนทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (Gross National Product – GNP) ของเกาหลีเหนืออยู่ในสภาวะติดลบ ขณะเดียวกันเกาหลีเหนือก็เริ่มประสบกับสภาวะขาดแคลนอาหารอันเป็นผลมาจากน้ำท่วมและภัยแล้ง
โดยในต้นทศวรรษ 1990 ทางการได้รณรงค์ให้ประชาชนรับประทานอาหารวันละ
2 มื้อ[2] และมีการประมาณการกันว่าในกลางทศวรรษนั้นเองมีชาวเกาหลีเหนือเสียชีวิตเนื่องจากขาดอาหารไม่ต่ำกว่า
2,000,000 คน[3]
วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและความอดอยากในเกาหลีเหนือทำให้ตลอดทศวรรษ
1990 จีนให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจแก่เกาหลีเหนืออย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันการล่มสลายของระบอบการปกครองของตระกูลคิมและรักษาเสถียรภาพบนคาบสมุทรเกาหลีเอาไว้
ดังจะเห็นได้ว่าแม้จีนใน ค.ศ. 1991 จะแจ้งให้เกาหลีเหนือทราบแล้วว่านับจากนี้การค้าระหว่าง
2 ประเทศจะดำเนินไปตามราคาตลาด
หากแต่ในทางปฏิบัติแล้วจีนยังคงใช้ “ราคามิตรภาพ” (friendship price) กับเกาหลีเหนืออยู่ต่อไป[4] จนจีนกลายเป็นคู่ค้าอันดับที่ 1 ของเกาหลีเหนือแทนที่สหภาพโซเวียต
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งออกน้ำมันไปยังเกาหลีเหนือ (ดูตารางที่ 4) แต่ในทางตรงกันข้าม การค้าระหว่างจีนกับเกาหลีเหนือนั้นคิดเป็นมูลค่าน้อยมากจนเทียบไม่ได้เลยกับการค้าระหว่างจีนกับเกาหลีใต้
(ดูตารางที่ 5) อันสะท้อนให้เห็นถึงการพึ่งพาซึ่งกันและกันแบบไม่สมดุล
(asymmetrical interdependence) ระหว่างจีนกับเกาหลีเหนือ นอกจากนี้จีนยังส่งอาหารไปบรรเทาความอดอยากในเกาหลีเหนืออีกด้วย
โดยมีรายงานว่าใน ค.ศ. 1993 จีนส่งอาหารไปให้ 1,000,000
ตัน[5] ความอดอยากดังกล่าวยังนำมาซึ่งผู้ลี้ภัยที่ข้ามพรมแดนเข้ามาในจีนจนกลายเป็นปัญหาสำคัญเมื่อเข้าสู่ทศวรรษ
2000
ขณะเดียวกัน
จีนยังคงพยายามชักจูงให้เกาหลีเหนือหันมาดำเนินนโยบายปฏิรูปและเปิดประเทศเฉกเช่นจีน
โดยในระหว่างการเยือนจีนของนายกรัฐมนตรียอนเฮียงมุก (Yon Hyong Muk) เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1990 เจียงเจ๋อหมินได้พาเขาไปชมเขตเศรษฐกิจพิเศษเซินเจิ้น
(Shenzhen Special Economic Zone) พร้อมกับอธิบายว่าการปฏิรูปกับการเดินบนเส้นทางสังคมนิยมเป็นสิ่งที่ทำควบคู่กันไปได้[6] ต่อมาเมื่อเกาหลีเหนือทดลองเปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศในเดือนธันวาคม
ค.ศ. 1991 ด้วยการก่อตั้งเขตเศรษฐกิจและการค้าเสรีนาจิน-ซอนบอง
(Rajin-Sonbong Free Economic Trade Zone) ขึ้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณแม่น้ำถูเหมินที่ติดกับรัสเซีย
ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของจีนที่ร่วมมือกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (The
United Nations Development Programme – UNDP) เพื่อพัฒนาลุ่มแม่น้ำถูเหมินเป็นสะพานให้มณฑลจี๋หลินมีทางออกสู่ทะเลญี่ปุ่น
หรือที่เรียกว่า “โครงการพัฒนาเขตแม่น้ำถูเหมิน” (The Tumen River Area Development
Programme – TRADP) จีนจึงได้เข้าไปลงทุนด้านการขนส่ง
โรงแรม ภัตตาคาร โรงงานผลิตยา และโรงงานแปรรูปอาหารทะเล โดยในกลาง ค.ศ. 1998
มีบริษัทจีนจำนวน 63 บริษัทเข้าไปลงทุนในเขตดังกล่าว
ของเกาหลีเหนือ หรือคิดเป็นร้อยละ 56 ของบริษัทต่างชาติทั้งหมดในเขตนั้น[7] แต่เมื่อถึงสิ้น
ค.ศ. 1998 ทางการเกาหลีเหนือกลับชะลอการเปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศ
การพัฒนาในเขตเศรษฐกิจและการค้าเสรีนาจิน-ซอนบองจึงหยุดชะงักไปชั่วคราว
ตารางที่
2
การเดินทางเยือนกันระหว่างผู้นำของจีนกับเกาหลีเหนือ
ระดับเลขาธิการพรรค
ประธานาธิบดี ประธานรัฐสภา และนายกรัฐมนตรี ในทศวรรษ 1990
ค.ศ.
|
ฝ่ายจีน
|
ฝ่ายเกาหลีเหนือ
|
1990
|
เจียงเจ๋อหมิน เลขาธิการพรรค
|
คิมอิลซุง เลขาธิการพรรคและประธานาธิบดี
ยอนเฮียงมุก นายกรัฐมนตรี
|
1991
|
หลี่เผิง นายกรัฐมนตรี
|
คิมอิลซุง เลขาธิการพรรคและประธานาธิบดี
|
1992
|
หยางซ่างคุน ประธานาธิบดี
|
-
|
1993
|
-
|
-
|
1994
|
-
|
-
|
1995
|
-
|
-
|
1996
|
-
|
-
|
1997
|
-
|
-
|
1998
|
-
|
-
|
1999
|
-
|
คิมยองนัม ประธานสมัชชาประชาชนสูงสุด
ฮงซงนัม นายกรัฐมนตรี
|
ที่มาของข้อมูล: เว็บไซต์สถานทูตจีนประจำกรุงเปียงยาง
http://kp.chineseembassy.org/chn/, สืบค้นเมื่อวันที่ 14
กันยายน 2013
ตารางที่
3
มูลค่าการค้าระหว่างเกาหลีเหนือกับสหภาพโซเวียต/สหพันธรัฐรัสเซีย
จีน
และญี่ปุ่น ช่วง ค.ศ. 1989-1998
(หน่วย:
ล้านเหรียญสหรัฐ)
ค.ศ.
|
สหภาพโซเวียต/สหพันธรัฐรัสเซีย
|
จีน
|
ญี่ปุ่น
|
1989
|
2,393
|
562
|
496
|
1990
|
2,564
|
483
|
476
|
1991
|
365
|
610
|
508
|
1992
|
292
|
697
|
480
|
1993
|
227
|
899
|
472
|
1994
|
140
|
624
|
493
|
1995
|
83
|
550
|
595
|
1996
|
65
|
566
|
518
|
1997
|
84
|
656
|
489
|
1998
|
65
|
413
|
395
|
ที่มาของข้อมูล: กระทรวงการรวมชาติของเกาหลีใต้
อ้างถึงใน Kongdan Oh and Ralph C. Hassig, North Korea through the
Looking Glass (Washington D.C.: Brooking Institution Press, 2000), 44-45.
ตารางที่
4
ปริมาณการส่งออกน้ำมันของจีนและสหภาพโซเวียต/สหพันธรัฐรัสเซียไปยังเกาหลีเหนือ
ช่วง
ค.ศ. 1989 – 1992
(หน่วย:
ล้านตัน)
ประเทศ
|
ค.ศ. 1989
|
ค.ศ. 1990
|
ค.ศ. 1991
|
ค.ศ. 1992
|
จีน
|
1.07
|
1.06
|
1.10
|
1.10
|
สหภาพโซเวียต/สหพันธรัฐรัสเซีย
|
0.50
|
0.41
|
0.04
|
0.03
|
ที่มาของข้อมูล: Yong-Sup Han, “China’s Leverages over North
Korea,” Korea and World Affairs 18 (Summer 1994): 246.
ตารางที่
5
มูลค่าการค้าระหว่างจีนกับเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้
ช่วง
ค.ศ. 1994 – 1998
(หน่วย:
ล้านเหรียญสหรัฐ)
ค.ศ.
|
มูลค่าการค้ากับเกาหลีเหนือ
|
มูลค่าการค้ากับเกาหลีใต้
|
1994
|
623.72
|
11,721.60
|
1995
|
549.80
|
16,982.53
|
1996
|
565.67
|
19,992.66
|
1997
|
656.29
|
24,045.47
|
1998
|
413.02
|
21,264.33
|
ที่มาของข้อมูล: เว็บไซต์สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน
http://www.stats.gov.cn/english/statisticaldata/yearlydata/, สืบค้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2013
------------------------------------------------------
[7] Rajin-Sonbong
Economic & Trade Zone: Investment & Business Guide (Beijing: The United Nations Industrial Development
Organisation, 1998), 8, available from http://www.nkeconwatch.com/nk-uploads/undp_rajin-report-1998.pdf,
accessed 20 September 2013.