ก่อนถึงทศวรรษ 2000 วงวิชาการไทยยังมิได้มีการศึกษาค้นคว้าเรื่องราวของเจิ้งเหอเท่าใดนัก วิทยานิพนธ์ของสืบแสง พรหมบุญ (2525) กล่าวถึงเจิ้งเหออยู่บ้างในฐานะทูตที่เข้ามาติดต่อสัมพันธ์กับอาณาจักรอยุธยา โดยมีบทบาททั้งในการสนับสนุนราชวงศ์สุพรรณภูมิของสมเด็จพระนครินทราธิราชให้ได้ขึ้นครองอำนาจ และการกดดันไม่ให้อยุธยาแผ่อำนาจเข้ารุกรานดินแดนแถบมะละกา งานศึกษาที่เฉพาะเจาะจงลงไปที่เจิ้งเหอเท่าที่สำรวจพบก็คือบทความของวุฒิชัย มูลศิลป์ (2548, ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2535) ซึ่งฉายภาพให้เห็นสาเหตุการเดินเรือของเจิ้งเหอ จำนวนครั้งและเส้นทางการเดินเรือ สาเหตุที่การเดินเรือต้องยุติลง รวมทั้งนัยสำคัญของการเดินเรือของเจิ้งเหอต่อประวัติศาสตร์โลก จนเมื่อประเด็นเกี่ยวกับเจิ้งเหอได้รับความสนใจอีกครั้งในทศวรรษ 2000 จึงได้มีงานศึกษาของคนไทยเกี่ยวกับเจิ้งเหอมากขึ้น ผลงานที่สำคัญคือ หนังสือของปริวัฒน์ จันทร (2546) และสืบแสง พรหมบุญ (2548) ซึ่งได้ค้นคว้าและเรียบเรียงเรื่องราวของเจิ้งเหออย่างค่อนข้างละเอียด โดยนอกจากจะกล่าวถึงประวัติและผลงานของเจิ้งเหอแล้ว ยังได้กล่าวถึงมรดกทางวัฒนธรรมที่เจิ้งเหอได้ทิ้งไว้ในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย
ในทางตรงกันข้าม การศึกษาในต่างประเทศเกี่ยวกับเจิ้งเหอนั้นได้ดำเนินมาเป็นเวลานานหลายทศวรรษแล้ว งานที่สำคัญก็คือหนังสือของ Needham et al. (1971) ซึ่งได้กล่าวถึงเจิ้งเหอโดยเน้นไปที่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีนด้านการเดินเรือ การต่อเรือ และการทำแผนที่ ผลงานอีกชิ้นหนึ่งที่มีลักษณะเป็น “ชีวประวัติ” (biography) ของเจิ้งเหอก็คือ งานของ Levathes (1994) ซึ่งได้ค้นคว้าเรื่องราวของเจิ้งเหอจากเอกสารชั้นต้นของจีน โดยเริ่มศึกษาตั้งแต่ประวัติการติดต่อทางทะเลระหว่างจีนกับประเทศต่างๆ มุมมองของลัทธิขงจื้อที่มีต่อการค้าและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ชาติกำเนิดของเจิ้งเหอ สาเหตุและรายละเอียดของการเดินเรือในแต่ละครั้ง สาเหตุที่การเดินเรือต้องยุติลง รวมทั้งตำนานต่างๆที่เป็นมรดกจากการเดินเรือในครั้งนั้น ส่วนงานของ Dreyer (2007) แม้ว่าจะมีลักษณะเป็นชีวประวัติคล้ายกับงานของ Levathes หากแต่ก็ได้เพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนที่สำคัญก็คือ ภาพลักษณ์ของเจิ้งเหอที่เปลี่ยนแปลงไปในยุคต่างๆ ก่อนที่จะกลายมาเป็นตัวแทนของ “การเดินทางเพื่อสันติภาพ” (peaceful voyages) แบบที่จีนพยายามนำเสนอในปัจจุบัน
สาเหตุการเดินเรือของเจิ้งเหอในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 นั้นเป็นประเด็นที่ยังคงมีการถกเถียงกันมากในวงวิชาการ ในด้านหนึ่ง Swanson (1982) และ Levathes (1994) เห็นตรงกันว่า การเดินเรือของเจิ้งเหอนั้นมีจุดประสงค์เพื่อสร้างความมั่นคงปลอดภัยให้กับเส้นทางการค้าทางทะเล และทำให้ปฏิสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างจีนกับประเทศต่างๆดำเนินไปได้อย่างไม่มีอุปสรรค ซึ่งการค้าทางทะเลนั้นเอื้อประโยชน์ต่อจีนในสองทางคือ (1) การเป็นแหล่งรายได้และภาษีให้กับรัฐ นอกเหนือไปจากการเก็บภาษีในประเทศเพียงอย่างเดียว และ (2) การค้าทางทะเลเป็นช่องทางที่ราชสำนักและชนชั้นสูงสามารถเข้าถึงสินค้าหรูหราหรือของแปลกๆจากต่างประเทศได้ ส่วน Finlay (2008) ก็ได้ให้ความเห็นคล้ายกันว่า การเดินเรือของเจิ้งเหอนั้นสะท้อนความพยายามของจักรพรรดิจีนในการที่จะนำเอาการค้าทางทะเลอย่างผิดกฎหมายที่มีมานานให้เข้ามาอยู่ภายใต้การดูแลโดยตรงของรัฐ อันจะช่วยลดปัญหาโจรสลัดและปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวงของขุนนางที่ประจำอยู่ตามเมืองท่าชายฝั่งทะเล แต่ในอีกด้านหนึ่ง นักวิชาการอย่าง Wade (2004, หรือดูฉบับภาษาไทยใน เวด, 2548) กลับมองว่าการเดินเรือของเจิ้งเหอเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการล่าอาณานิคมของราชวงศ์หมิงในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 เห็นได้จากการที่กองเรือของเจิ้งเหอได้เข้าไปให้กำลังปราบปรามผู้ต่อต้านอำนาจของจีนในหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นสุมาตรา ชวา และศรีลังกา และในช่วงเวลาใกล้เคียงกันนั้น กองทัพบกของราชวงศ์หมิงก็ได้เข้าไปรุกรานพม่าและเวียดนามอีกด้วย Wade จึงมองว่าการเดินเรือของเจิ้งเหอเป็น “ต้นแบบของการสร้างอาณานิคมภาคพื้นทะเล” (proto-maritime imperialism) ซึ่งไม่ต่างอะไรจากการล่าอาณานิคมของโปรตุเกสในศตวรรษถัดมา
อย่างไรก็ตาม Dreyer (2007) ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดทั้งสองด้าน เขาเสนอว่าการเดินเรือของเจิ้งเหอเป็นเพียงความพยายามของจีนที่จะสถาปนาความสัมพันธ์ภายใต้ระบบบรรณาการกับประเทศต่างๆ เพื่อให้ประเทศเหล่านั้นยอมรับอำนาจและความยิ่งใหญ่ของจีน อันจะช่วยเพิ่มความชอบธรรมให้กับแนวคิดเรื่องการเป็น “โอรสแห่งสวรรค์” (天子The Son of Heaven) ของจักรพรรดิจีน โดยที่จีนมิได้หวังผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจหรือต้องการแสวงหาอาณานิคมแต่ประการใด ขณะที่ Tan Ta Sen (2005) ก็เสนอว่า ระบบบรรณาการของจีนมีรากฐานทางความคิดที่แตกต่างไปจากระบบอาณานิคมของชาติตะวันตก จึงเป็นการไม่ถูกต้องที่จะนำเอาแนวคิดแบบตะวันตกมาอธิบายการเดินเรือของเจิ้งเหอ
การศึกษาเกี่ยวกับเจิ้งเหออีกส่วนหนึ่งจะมุ่งไปพิจารณาถึงมรดกทางวัฒนธรรมที่เจิ้งเหอได้ทิ้งเอาไว้ในดินแดนต่างๆที่เขาไปเยือน โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ งานของ Suryadinata (2005) ได้ค้นคว้าผ่านหลักฐานท้องถิ่นอย่าง The Malay Annals of Semarang and Cerbon แล้วพบว่าเจิ้งเหอและชาวจีนมุสลิมมีบทบาทอย่างมากในการทำให้เกาะชวากลายเป็นอิสลาม (Islamization) ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 ขณะที่งานของ Widodo (2005) ก็ได้บ่งชี้ว่าเจิ้งเหอมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมเมือง (urban culture) โครงสร้างการตั้งถิ่นฐานของประชากร (settlement structures) และสถาปัตยกรรมในแถบสุมาตรา กาลิมันตัน ชวา และแหลมมลายู รวมทั้งเจิ้งเหอได้กลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นสัญลักษณ์ของการผสมผสานกลมกลืนระหว่างวัฒนธรรมอิสลาม พุทธ และเต๋า จนเกิดสิ่งที่เรียกว่า “เอกภาพในความหลากหลาย” (unity in diversity) ส่วนงานของชาญวิทย์ เกษตรศิริ (Charnvit, 2548) ก็ได้ชี้ให้เห็นว่า แม้จะยังไม่มีหลักฐานที่สรุปแน่ชัดว่าเจิ้งเหอเคยเดินทางมายังกรุงศรีอยุธยาด้วยตนเองหรือไม่ หากแต่เรื่องราวของเจิ้งเหอก็ถูกโยงเข้ากับวัดพนัญเชิง ตำนานเรื่องพระเจ้าสายน้ำผึ้งและพระนางสร้อยดอกหมาก รวมทั้งพระพุทธรูปอย่าง “หลวงพ่อซำปอกง” หรือพระพุทธไตรรัตนนายก
ผลงานล่าสุดที่พยายามท้าทายองค์ความรู้เดิมเกี่ยวกับเจิ้งเหอก็คือ หนังสือของ Menzies (ดู เมนซีส์, 2550 แปลจากฉบับภาษาอังกฤษที่ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 2004) อดีตผู้บังคับการเรือดำน้ำของอังกฤษผู้นี้ได้เสนอว่า แม้ว่าใน ค.ศ. 1421 เจิ้งเหอจะเดินเรือไปถึงเพียงเมืองคาลิกัต (Calicut) ในอินเดีย หากแต่ผู้ใต้บังคับบัญชาของเขาได้ออกเดินเรือต่อไปโดยอ้อมแหลมกู๊ดโฮป (Cape of Good Hope) ในแอฟริกาและไปยังทวีปอเมริกา ก่อนที่จะเดินทางกลับจีนโดยส่วนหนึ่งกลับทางมหาสมุทรแปซิฟิก และอีกส่วนหนึ่งกลับทางมหาสมุทรอาร์กติก! ซึ่งเท่ากับเป็นการล้มล้างองค์ความรู้เดิมที่ว่าบาร์โธโลมิว ไดแอช (Bartholomeu Dias) เป็นบุคคลแรกที่เดินเรืออ้อมแหลมกู๊ดโฮปได้สำเร็จเมื่อ ค.ศ. 1488 คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus) เป็นบุคคลแรกที่พบทวีปอเมริกาเมื่อ ค.ศ. 1492 และเฟอร์ดินัน แมกแจลแลน (Ferdinand Magellan) เป็นบุคคลแรกที่เดินเรือรอบโลกเมื่อ ค.ศ. 1521 Menzies ยังกล่าวต่อไปด้วยว่า ในครั้งนั้นกองเรือของจีนได้ถ่ายทอดความรู้เรื่องแผนที่โลกให้กับชาวยุโรป จนทำให้ชาวยุโรปสามารถเดินเรือไปถึงทวีปอเมริกาได้ในอีกเกือบหนึ่งศตวรรษต่อมา ล่าสุด Menzies (2008) ได้ออกหนังสืออีกเล่มหนึ่งเพื่อเสนอความคิดที่ว่า แม้ว่าเจิ้งเหอจะเสียชีวิตระหว่างการเดินเรือครั้งที่ 7 เมื่อ ค.ศ. 1433 หากแต่กองเรือของเขาก็ได้เดินทางต่อไปถึงคาบสมุทรอิตาลีในปีถัดมา โดยได้เข้าเฝ้าพระสันตปาปายูจีเนียสที่ 4 (Pope Eugenius IV) และได้ถ่ายทอดวิทยาการด้านต่างๆของจีนให้แก่ชาวยุโรป ไม่ว่าจะเป็นภูมิศาสตร์ คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ การพิมพ์ การทำแผนที่ วิศวกรรมศาสตร์ การผลิตเหล็ก ฯลฯ Menzies ถึงกับบอกว่าถ้ายุโรปมิได้รับถ่ายทอดความรู้จากจีนในครั้งนั้น การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (The Renaissance) ก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้
อย่างไรก็ตาม มีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงข้อบกพร่องในหนังสือของ Menzies อยู่ไม่น้อย บุคคลหนึ่งที่วิจารณ์ Menzies อย่างละเอียดคือ Finaly (2004) ผู้ซึ่งชี้ให้เห็นว่าหนังสือเล่มดังกล่าวบกพร่องในด้านระเบียบวิธีวิจัยทางประวัติศาสตร์ มีการตั้งสมมติฐานและใช้สมมติฐานดังกล่าวราวกับว่าเป็น “ความจริง” ที่ไม่ต้องพิสูจน์อีกต่อไป Menzies ยัง “เลือก” ที่จะอ้างอิงหลักฐานเฉพาะในส่วนที่จะสนับสนุนความเห็นของตนเท่านั้น โดยละเลยการตรวจสอบหลักฐานจากฝ่ายจีน นอกจากนี้ Menzies ยังมิได้ตอบคำถามสำคัญที่ว่า ถ้ากองเรือของจีนเดินทางไปรอบโลกมาแล้วจริง เหตุใดหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของจีนสมัยราชวงศ์หมิงที่ตกทอดมาถึงปัจจุบันจึงระบุแต่เพียงว่า กองเรือดังกล่าวเดินทางไปไกลที่สุดเพียงชายฝั่งตะวันออกของทวีปแอฟริกาเท่านั้น หนังสือเล่มดังกล่าวจึงเป็นเพียงสมมติฐานที่ยังขาดหลักฐานสนับสนุนที่น่าเชื่อถือ อย่างไรก็ตามหนังสือเล่มนี้ยังได้รับการตอบรับอยู่พอสมควร ดังเช่นหนังสือของโยธิน เอื้อคณารักษ์ (2549) ซึ่งได้ประกาศตนเป็นสนับสนุนทฤษฎีของ Menzies อย่างชัดเจน
เอกสารอ้างอิง
ปริวัฒน์ จันทร. (2546). เจิ้งเหอ แม่ทัพขันที “ซำปอกง”. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.
เมนซีส์, กาวิน. (2550). 1421 ปีที่จีนค้นพบโลก (เรืองชัย รักศรีอักษร, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.
โยธิน เอื้อคณารักษ์. (2549). จีนพิชิตโลก: บทสรุปพลิกหน้าประวัติศาสตร์ยุคเดินเรือ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ผู้จัดการ.
วุฒิชัย มูลศิลป์. (2548). เมื่อประวัติศาสตร์โลกเกือบเปลี่ยนโฉมหน้า การสำรวจทางทะเลของจีนสมัยต้นราชวงศ์หมิง. เอกสารหมายเลข 2 ประกอบการสัมมนาวิชาการ “เรื่อง 30 ปี ความสัมพันธ์ไทย-จีน 600 ปี ซำปอกง/เจิ้งเหอ กับอยุธยาและอุษาคเนย์” วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2548.
เวด, เจฟ. (2548). เจิ้งเหอกับการทูตแบบสันถวไมตรี หรือเพื่อกดขี่บีฑา (ทรงยศ แววหงษ์, ผู้แปล). เอกสารหมายเลข 5 ประกอบการสัมมนาวิชาการเรื่อง “30 ปี ความสัมพันธ์ไทย-จีน 600 ปี ซำปอกง/เจิ้งเหอ กับอยุธยาและอุษาคเนย์” วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2548.
สืบแสง พรหมบุญ. (2525). ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการระหว่างจีนกับไทย ค.ศ. 1282-1833 (กาญจนี ละอองศรี, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
สืบแสง พรหมบุญ. (2548). เจิ้งเหอ ซำปอกงและอุษาคเนย์. เอกสารหมายเลข 3 ประกอบการสัมมนาวิชาการเรื่อง “30 ปี ความสัมพันธ์ไทย-จีน 600 ปี ซำปอกง/เจิ้งเหอ กับอยุธยาและอุษาคเนย์” วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2548.
Charnvit Kasetsiri. (2548). Zheng He – Sam Po Kong: History and Myth in Thailand. เอกสารหมายเลข 6 ประกอบการสัมมนาวิชาการเรื่อง “30 ปี ความสัมพันธ์ไทย-จีน 600 ปี ซำปอกง/เจิ้งเหอ กับอยุธยาและอุษาคเนย์” วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2548.
Dreyer, Edward L. (2007). Zheng He: China and the Oceans in the Early Ming Dynasty, 1405-1433. New York: Pearson Education, Inc.
Finlay, Robert. (2004). How Not to (Re)Write World History: Gavin Menzies and the Chinese Discovery of America. Journal of World History 15(2), 229-242.
Finlay, Robert. (2008). The Voyages of Zheng He: Ideology, State Power, and Maritime Trade in Ming China. The Journal of The Historical Society 8(3), 327-347.
Levathes, Louise. (1994). When China Ruled the Seas: the Treasure Fleet of the Dragon Throne 1405-1433. New York: Simon&Schuster.
Menzies, Gavin. (2008). 1434: The Year a Magnificent Chinese Fleet Sailed to Italy and Ignited the Renaissance. London, HarperCollinsPublishers.
Needham, Joseph, Wang Ling, and Liu Gwei-Djen. (1971). Science and Civilisation in China, Volume 4 Physics and Physical Technology, Part III: Civil Engineering and Nautics. London: Cambridge University Press.
Suryadinata, Leo. (2005). Zheng He, Semarang and the Islamization of Java: Between History and Legend. In Leo Suryadinata (Ed.), Admiral Zheng He and Southeast Asia (pp. 72-93). Singapore: Insitute of Southeast Asian Studies.
Swanson, Bruce. (1982). Eighth Voyage of the Dragon: A History of China’s Quest for Seapower. Annapolis, MD: Naval Institute Press.
Tan Ta Sen. (2005). Did Zheng He Set Out to Colonize Southeast Asia?. In Leo Suryadinata (Ed.), Admiral Zheng He and Southeast Asia (pp. 42-57). Singapore: Insitute of Southeast Asian Studies.
Wade, Geoff. (2004). The Zheng He Voyages: A Reassessment. Working Paper Series No. 31, Asia Research Institute, National University of Singapore..
Widodo, Johannes. (2005). A Celebration of Diversity: Zheng He and the Origin of the Pre-Colonial Coastal Urban Pattern in Southeast Asia. In Leo Suryadinata (Ed.), Admiral Zheng He and Southeast Asia (pp. 94-123). Singapore: Insitute of Southeast Asian Studies.
ในทางตรงกันข้าม การศึกษาในต่างประเทศเกี่ยวกับเจิ้งเหอนั้นได้ดำเนินมาเป็นเวลานานหลายทศวรรษแล้ว งานที่สำคัญก็คือหนังสือของ Needham et al. (1971) ซึ่งได้กล่าวถึงเจิ้งเหอโดยเน้นไปที่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีนด้านการเดินเรือ การต่อเรือ และการทำแผนที่ ผลงานอีกชิ้นหนึ่งที่มีลักษณะเป็น “ชีวประวัติ” (biography) ของเจิ้งเหอก็คือ งานของ Levathes (1994) ซึ่งได้ค้นคว้าเรื่องราวของเจิ้งเหอจากเอกสารชั้นต้นของจีน โดยเริ่มศึกษาตั้งแต่ประวัติการติดต่อทางทะเลระหว่างจีนกับประเทศต่างๆ มุมมองของลัทธิขงจื้อที่มีต่อการค้าและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ชาติกำเนิดของเจิ้งเหอ สาเหตุและรายละเอียดของการเดินเรือในแต่ละครั้ง สาเหตุที่การเดินเรือต้องยุติลง รวมทั้งตำนานต่างๆที่เป็นมรดกจากการเดินเรือในครั้งนั้น ส่วนงานของ Dreyer (2007) แม้ว่าจะมีลักษณะเป็นชีวประวัติคล้ายกับงานของ Levathes หากแต่ก็ได้เพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนที่สำคัญก็คือ ภาพลักษณ์ของเจิ้งเหอที่เปลี่ยนแปลงไปในยุคต่างๆ ก่อนที่จะกลายมาเป็นตัวแทนของ “การเดินทางเพื่อสันติภาพ” (peaceful voyages) แบบที่จีนพยายามนำเสนอในปัจจุบัน
สาเหตุการเดินเรือของเจิ้งเหอในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 นั้นเป็นประเด็นที่ยังคงมีการถกเถียงกันมากในวงวิชาการ ในด้านหนึ่ง Swanson (1982) และ Levathes (1994) เห็นตรงกันว่า การเดินเรือของเจิ้งเหอนั้นมีจุดประสงค์เพื่อสร้างความมั่นคงปลอดภัยให้กับเส้นทางการค้าทางทะเล และทำให้ปฏิสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างจีนกับประเทศต่างๆดำเนินไปได้อย่างไม่มีอุปสรรค ซึ่งการค้าทางทะเลนั้นเอื้อประโยชน์ต่อจีนในสองทางคือ (1) การเป็นแหล่งรายได้และภาษีให้กับรัฐ นอกเหนือไปจากการเก็บภาษีในประเทศเพียงอย่างเดียว และ (2) การค้าทางทะเลเป็นช่องทางที่ราชสำนักและชนชั้นสูงสามารถเข้าถึงสินค้าหรูหราหรือของแปลกๆจากต่างประเทศได้ ส่วน Finlay (2008) ก็ได้ให้ความเห็นคล้ายกันว่า การเดินเรือของเจิ้งเหอนั้นสะท้อนความพยายามของจักรพรรดิจีนในการที่จะนำเอาการค้าทางทะเลอย่างผิดกฎหมายที่มีมานานให้เข้ามาอยู่ภายใต้การดูแลโดยตรงของรัฐ อันจะช่วยลดปัญหาโจรสลัดและปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวงของขุนนางที่ประจำอยู่ตามเมืองท่าชายฝั่งทะเล แต่ในอีกด้านหนึ่ง นักวิชาการอย่าง Wade (2004, หรือดูฉบับภาษาไทยใน เวด, 2548) กลับมองว่าการเดินเรือของเจิ้งเหอเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการล่าอาณานิคมของราชวงศ์หมิงในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 เห็นได้จากการที่กองเรือของเจิ้งเหอได้เข้าไปให้กำลังปราบปรามผู้ต่อต้านอำนาจของจีนในหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นสุมาตรา ชวา และศรีลังกา และในช่วงเวลาใกล้เคียงกันนั้น กองทัพบกของราชวงศ์หมิงก็ได้เข้าไปรุกรานพม่าและเวียดนามอีกด้วย Wade จึงมองว่าการเดินเรือของเจิ้งเหอเป็น “ต้นแบบของการสร้างอาณานิคมภาคพื้นทะเล” (proto-maritime imperialism) ซึ่งไม่ต่างอะไรจากการล่าอาณานิคมของโปรตุเกสในศตวรรษถัดมา
อย่างไรก็ตาม Dreyer (2007) ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดทั้งสองด้าน เขาเสนอว่าการเดินเรือของเจิ้งเหอเป็นเพียงความพยายามของจีนที่จะสถาปนาความสัมพันธ์ภายใต้ระบบบรรณาการกับประเทศต่างๆ เพื่อให้ประเทศเหล่านั้นยอมรับอำนาจและความยิ่งใหญ่ของจีน อันจะช่วยเพิ่มความชอบธรรมให้กับแนวคิดเรื่องการเป็น “โอรสแห่งสวรรค์” (天子The Son of Heaven) ของจักรพรรดิจีน โดยที่จีนมิได้หวังผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจหรือต้องการแสวงหาอาณานิคมแต่ประการใด ขณะที่ Tan Ta Sen (2005) ก็เสนอว่า ระบบบรรณาการของจีนมีรากฐานทางความคิดที่แตกต่างไปจากระบบอาณานิคมของชาติตะวันตก จึงเป็นการไม่ถูกต้องที่จะนำเอาแนวคิดแบบตะวันตกมาอธิบายการเดินเรือของเจิ้งเหอ
การศึกษาเกี่ยวกับเจิ้งเหออีกส่วนหนึ่งจะมุ่งไปพิจารณาถึงมรดกทางวัฒนธรรมที่เจิ้งเหอได้ทิ้งเอาไว้ในดินแดนต่างๆที่เขาไปเยือน โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ งานของ Suryadinata (2005) ได้ค้นคว้าผ่านหลักฐานท้องถิ่นอย่าง The Malay Annals of Semarang and Cerbon แล้วพบว่าเจิ้งเหอและชาวจีนมุสลิมมีบทบาทอย่างมากในการทำให้เกาะชวากลายเป็นอิสลาม (Islamization) ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 ขณะที่งานของ Widodo (2005) ก็ได้บ่งชี้ว่าเจิ้งเหอมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมเมือง (urban culture) โครงสร้างการตั้งถิ่นฐานของประชากร (settlement structures) และสถาปัตยกรรมในแถบสุมาตรา กาลิมันตัน ชวา และแหลมมลายู รวมทั้งเจิ้งเหอได้กลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นสัญลักษณ์ของการผสมผสานกลมกลืนระหว่างวัฒนธรรมอิสลาม พุทธ และเต๋า จนเกิดสิ่งที่เรียกว่า “เอกภาพในความหลากหลาย” (unity in diversity) ส่วนงานของชาญวิทย์ เกษตรศิริ (Charnvit, 2548) ก็ได้ชี้ให้เห็นว่า แม้จะยังไม่มีหลักฐานที่สรุปแน่ชัดว่าเจิ้งเหอเคยเดินทางมายังกรุงศรีอยุธยาด้วยตนเองหรือไม่ หากแต่เรื่องราวของเจิ้งเหอก็ถูกโยงเข้ากับวัดพนัญเชิง ตำนานเรื่องพระเจ้าสายน้ำผึ้งและพระนางสร้อยดอกหมาก รวมทั้งพระพุทธรูปอย่าง “หลวงพ่อซำปอกง” หรือพระพุทธไตรรัตนนายก
ผลงานล่าสุดที่พยายามท้าทายองค์ความรู้เดิมเกี่ยวกับเจิ้งเหอก็คือ หนังสือของ Menzies (ดู เมนซีส์, 2550 แปลจากฉบับภาษาอังกฤษที่ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 2004) อดีตผู้บังคับการเรือดำน้ำของอังกฤษผู้นี้ได้เสนอว่า แม้ว่าใน ค.ศ. 1421 เจิ้งเหอจะเดินเรือไปถึงเพียงเมืองคาลิกัต (Calicut) ในอินเดีย หากแต่ผู้ใต้บังคับบัญชาของเขาได้ออกเดินเรือต่อไปโดยอ้อมแหลมกู๊ดโฮป (Cape of Good Hope) ในแอฟริกาและไปยังทวีปอเมริกา ก่อนที่จะเดินทางกลับจีนโดยส่วนหนึ่งกลับทางมหาสมุทรแปซิฟิก และอีกส่วนหนึ่งกลับทางมหาสมุทรอาร์กติก! ซึ่งเท่ากับเป็นการล้มล้างองค์ความรู้เดิมที่ว่าบาร์โธโลมิว ไดแอช (Bartholomeu Dias) เป็นบุคคลแรกที่เดินเรืออ้อมแหลมกู๊ดโฮปได้สำเร็จเมื่อ ค.ศ. 1488 คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus) เป็นบุคคลแรกที่พบทวีปอเมริกาเมื่อ ค.ศ. 1492 และเฟอร์ดินัน แมกแจลแลน (Ferdinand Magellan) เป็นบุคคลแรกที่เดินเรือรอบโลกเมื่อ ค.ศ. 1521 Menzies ยังกล่าวต่อไปด้วยว่า ในครั้งนั้นกองเรือของจีนได้ถ่ายทอดความรู้เรื่องแผนที่โลกให้กับชาวยุโรป จนทำให้ชาวยุโรปสามารถเดินเรือไปถึงทวีปอเมริกาได้ในอีกเกือบหนึ่งศตวรรษต่อมา ล่าสุด Menzies (2008) ได้ออกหนังสืออีกเล่มหนึ่งเพื่อเสนอความคิดที่ว่า แม้ว่าเจิ้งเหอจะเสียชีวิตระหว่างการเดินเรือครั้งที่ 7 เมื่อ ค.ศ. 1433 หากแต่กองเรือของเขาก็ได้เดินทางต่อไปถึงคาบสมุทรอิตาลีในปีถัดมา โดยได้เข้าเฝ้าพระสันตปาปายูจีเนียสที่ 4 (Pope Eugenius IV) และได้ถ่ายทอดวิทยาการด้านต่างๆของจีนให้แก่ชาวยุโรป ไม่ว่าจะเป็นภูมิศาสตร์ คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ การพิมพ์ การทำแผนที่ วิศวกรรมศาสตร์ การผลิตเหล็ก ฯลฯ Menzies ถึงกับบอกว่าถ้ายุโรปมิได้รับถ่ายทอดความรู้จากจีนในครั้งนั้น การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (The Renaissance) ก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้
อย่างไรก็ตาม มีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงข้อบกพร่องในหนังสือของ Menzies อยู่ไม่น้อย บุคคลหนึ่งที่วิจารณ์ Menzies อย่างละเอียดคือ Finaly (2004) ผู้ซึ่งชี้ให้เห็นว่าหนังสือเล่มดังกล่าวบกพร่องในด้านระเบียบวิธีวิจัยทางประวัติศาสตร์ มีการตั้งสมมติฐานและใช้สมมติฐานดังกล่าวราวกับว่าเป็น “ความจริง” ที่ไม่ต้องพิสูจน์อีกต่อไป Menzies ยัง “เลือก” ที่จะอ้างอิงหลักฐานเฉพาะในส่วนที่จะสนับสนุนความเห็นของตนเท่านั้น โดยละเลยการตรวจสอบหลักฐานจากฝ่ายจีน นอกจากนี้ Menzies ยังมิได้ตอบคำถามสำคัญที่ว่า ถ้ากองเรือของจีนเดินทางไปรอบโลกมาแล้วจริง เหตุใดหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของจีนสมัยราชวงศ์หมิงที่ตกทอดมาถึงปัจจุบันจึงระบุแต่เพียงว่า กองเรือดังกล่าวเดินทางไปไกลที่สุดเพียงชายฝั่งตะวันออกของทวีปแอฟริกาเท่านั้น หนังสือเล่มดังกล่าวจึงเป็นเพียงสมมติฐานที่ยังขาดหลักฐานสนับสนุนที่น่าเชื่อถือ อย่างไรก็ตามหนังสือเล่มนี้ยังได้รับการตอบรับอยู่พอสมควร ดังเช่นหนังสือของโยธิน เอื้อคณารักษ์ (2549) ซึ่งได้ประกาศตนเป็นสนับสนุนทฤษฎีของ Menzies อย่างชัดเจน
เอกสารอ้างอิง
ปริวัฒน์ จันทร. (2546). เจิ้งเหอ แม่ทัพขันที “ซำปอกง”. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.
เมนซีส์, กาวิน. (2550). 1421 ปีที่จีนค้นพบโลก (เรืองชัย รักศรีอักษร, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.
โยธิน เอื้อคณารักษ์. (2549). จีนพิชิตโลก: บทสรุปพลิกหน้าประวัติศาสตร์ยุคเดินเรือ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ผู้จัดการ.
วุฒิชัย มูลศิลป์. (2548). เมื่อประวัติศาสตร์โลกเกือบเปลี่ยนโฉมหน้า การสำรวจทางทะเลของจีนสมัยต้นราชวงศ์หมิง. เอกสารหมายเลข 2 ประกอบการสัมมนาวิชาการ “เรื่อง 30 ปี ความสัมพันธ์ไทย-จีน 600 ปี ซำปอกง/เจิ้งเหอ กับอยุธยาและอุษาคเนย์” วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2548.
เวด, เจฟ. (2548). เจิ้งเหอกับการทูตแบบสันถวไมตรี หรือเพื่อกดขี่บีฑา (ทรงยศ แววหงษ์, ผู้แปล). เอกสารหมายเลข 5 ประกอบการสัมมนาวิชาการเรื่อง “30 ปี ความสัมพันธ์ไทย-จีน 600 ปี ซำปอกง/เจิ้งเหอ กับอยุธยาและอุษาคเนย์” วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2548.
สืบแสง พรหมบุญ. (2525). ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการระหว่างจีนกับไทย ค.ศ. 1282-1833 (กาญจนี ละอองศรี, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
สืบแสง พรหมบุญ. (2548). เจิ้งเหอ ซำปอกงและอุษาคเนย์. เอกสารหมายเลข 3 ประกอบการสัมมนาวิชาการเรื่อง “30 ปี ความสัมพันธ์ไทย-จีน 600 ปี ซำปอกง/เจิ้งเหอ กับอยุธยาและอุษาคเนย์” วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2548.
Charnvit Kasetsiri. (2548). Zheng He – Sam Po Kong: History and Myth in Thailand. เอกสารหมายเลข 6 ประกอบการสัมมนาวิชาการเรื่อง “30 ปี ความสัมพันธ์ไทย-จีน 600 ปี ซำปอกง/เจิ้งเหอ กับอยุธยาและอุษาคเนย์” วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2548.
Dreyer, Edward L. (2007). Zheng He: China and the Oceans in the Early Ming Dynasty, 1405-1433. New York: Pearson Education, Inc.
Finlay, Robert. (2004). How Not to (Re)Write World History: Gavin Menzies and the Chinese Discovery of America. Journal of World History 15(2), 229-242.
Finlay, Robert. (2008). The Voyages of Zheng He: Ideology, State Power, and Maritime Trade in Ming China. The Journal of The Historical Society 8(3), 327-347.
Levathes, Louise. (1994). When China Ruled the Seas: the Treasure Fleet of the Dragon Throne 1405-1433. New York: Simon&Schuster.
Menzies, Gavin. (2008). 1434: The Year a Magnificent Chinese Fleet Sailed to Italy and Ignited the Renaissance. London, HarperCollinsPublishers.
Needham, Joseph, Wang Ling, and Liu Gwei-Djen. (1971). Science and Civilisation in China, Volume 4 Physics and Physical Technology, Part III: Civil Engineering and Nautics. London: Cambridge University Press.
Suryadinata, Leo. (2005). Zheng He, Semarang and the Islamization of Java: Between History and Legend. In Leo Suryadinata (Ed.), Admiral Zheng He and Southeast Asia (pp. 72-93). Singapore: Insitute of Southeast Asian Studies.
Swanson, Bruce. (1982). Eighth Voyage of the Dragon: A History of China’s Quest for Seapower. Annapolis, MD: Naval Institute Press.
Tan Ta Sen. (2005). Did Zheng He Set Out to Colonize Southeast Asia?. In Leo Suryadinata (Ed.), Admiral Zheng He and Southeast Asia (pp. 42-57). Singapore: Insitute of Southeast Asian Studies.
Wade, Geoff. (2004). The Zheng He Voyages: A Reassessment. Working Paper Series No. 31, Asia Research Institute, National University of Singapore..
Widodo, Johannes. (2005). A Celebration of Diversity: Zheng He and the Origin of the Pre-Colonial Coastal Urban Pattern in Southeast Asia. In Leo Suryadinata (Ed.), Admiral Zheng He and Southeast Asia (pp. 94-123). Singapore: Insitute of Southeast Asian Studies.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น