แม้ว่าการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหภาพโซเวียตในทศวรรษ
1980 และการล่มสลายของระบอบสังคมนิยมยุโรปตะวันออกและสหภาพโซเวียตช่วง
ค.ศ. 1989 – 1991 จะทำให้จีนกับคิวบาสามารถรื้อฟื้นความสัมพันธ์ในระดับพรรคและกลายเป็นผู้ให้การสนับสนุนซึ่งกันและกันในการรักษาไว้ซึ่งระบอบสังคมนิยม
แต่ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวก็ส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อเศรษฐกิจของคิวบาซึ่งพึ่งพาสหภาพโซเวียตและประเทศในกลุ่มโคเมคอน
โดยตั้งแต่การขึ้นสู่อำนาจของกอร์บาชอฟเมื่อ ค.ศ. 1985 จนกระทั่งการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปลาย
ค.ศ. 1991 สหภาพโซเวียตได้เปลี่ยนแปลงนโยบายด้านความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับคิวบาจากเดิมที่เป็นฝ่ายค้ำจุนเศรษฐกิจของคิวบาเอาไว้โดยอ้างอุดมการณ์สังคมนิยม
มาเป็นความสัมพันธ์ที่ได้ประโยชน์ซึ่งกันและกันบนพื้นฐานของกลไกตลาด
การแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจระหว่างสองฝ่ายจึงต้องอ้างอิงราคาในตลาดโลกและใช้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ
ทำให้ในกลาง ค.ศ. 1991 ฟิเดล คาสโตรต้องประกาศว่าคิวบาได้เข้าสู่ “ช่วงเวลาพิเศษ (The
Special Period)” เพื่อให้ประชาชนเตรียมตัวรับกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ไม่ปกติ
ทั้งนี้โฮเซ เฟอร์นันเดส (José Fernández)
รองประธานาธิบดีคิวบาได้อธิบายถึงความยากลำบากทางเศรษฐกิจของคิวบาเอาไว้ในการให้สัมภาษณ์แก่นักข่าวจากจีนเมื่อเดือนพฤษภาคมของปีนั้น
ความตอนหนึ่งว่า
ครึ่งหนึ่งของเศรษฐกิจคิวบานั้นอาศัยการค้ากับต่างประเทศ
โดยเป็นการค้ากับประเทศสังคมนิยมถึงร้อยละ 85 และในบรรดาประเทศเหล่านั้นก็คือสหภาพโซเวียตซึ่งคิดเป็นร้อยละ
75 แต่แล้วความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในยุโรปตะวันออกและความยุ่งยากในสหภาพโซเวียตได้ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อการค้ากับต่างประเทศและเศรษฐกิจของคิวบา
ข้อเท็จจริงก็คือ ในปีนี้การค้าระหว่างคิวบากับโปแลนด์ ฮังการี บัลแกเรีย
และเชโกสโลวะเกียได้ขาดสะบั้นลงแล้ว ส่วนการค้ากับสหภาพโซเวียตนั้น แม้ผู้นำโซเวียตบอกว่าจะพยายามอย่างดีที่สุด
แต่ความจริงจนถึงบัดนี้ก็ยังไม่ได้ทำตามสัญญา อย่างเช่นใน ค.ศ. 1990 เรานำเข้าน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันจากสหภาพโซเวียตรวม 10 ล้านตัน ซึ่งลดลงจากปีก่อนหน้านั้นถึงร้อยละ 30 ส่วนปีนี้สหภาพโซเวียตจะส่งน้ำมันมาให้เราเท่าไหร่ก็ยังไม่แน่
สภาพเช่นนี้ไม่เพียงแต่กระทบต่อการผลิตไฟฟ้าเท่านั้น แต่ยังกระทบต่อการผลิตน้ำตาลอย่างร้ายแรงอีกด้วย[1]
ฟิเดล คาสโตรในการรณรงค์ส่งเสริมการขี่จักรยานเมื่อ ค.ศ. 1991
วิธีการหนึ่งที่คิวบาใช้แก้ปัญหาในยามขาดแคลนน้ำมันก็คือ
การหันมาใช้จักรยานเป็นพาหนะในการเดินทางในเขตเมืองแทนรถโดยสารประจำทาง ทำให้จักรยานกลายเป็นสินค้าสำคัญที่จีนส่งออกไปยังคิวบาควบคู่ไปกับสินค้าส่งออกเดิมอย่างข้าว
โดยมูลค่าการนำเข้าจักรยานจากจีนนั้นเพิ่มขึ้นจาก 7.40
ล้านเหรียญสหรัฐใน ค.ศ. 1990 เป็น 30.24 ล้านเหรียญสหรัฐในปีถัดมา (ดูตารางที่ 3) แม้จะมีรายงานว่าจักรยานจากจีนมีปัญหาเรื่องการประกอบที่ไม่ได้คุณภาพ
ระบบเบรกที่เสียง่าย และอะไหล่ที่หายาก อีกทั้งยังมีราคาที่สูงราว 130 เปโซ หรือราวร้อยละ 68 ของเงินเดือนเฉลี่ยของประชาชนคิวบา[2]
แต่คิวบาก็ดูจะไม่มีทางเลือกอื่นในสภาวะขาดแคลนน้ำมัน ทำให้ในต้นทศวรรษดังกล่าวมีจักรยานจากจีนนับล้านคันวิ่งไปมาในกรุงฮาวานา
จนมีคำกล่าวว่าจากทั้งนักการทูตจีนที่ประจำอยู่ที่กรุงฮาวานาและจากผู้นำระดับสูงของคิวบาว่า
กรุงฮาวานากลายสภาพไปเป็นกรุงปักกิ่ง[3]
นอกจากนี้ จีนยังให้เงินกู้แก่คิวบาเพื่อสร้างโรงงานผลิตจักรยานอีกด้วย โดยใช้เครื่องจักร
อุปกรณ์ และเทคโนโลยีจากจีน ส่วนคิวบานั้นรับผิดชอบเรื่องการหาสถานที่ ไฟฟ้า
และโรงเรือน การก่อสร้างเริ่มใน ค.ศ. 1994
และแล้วเสร็จในอีกสองปีถัดมา โดยสามารถผลิตจักรยานได้ปีละ 150,000 คัน[4]
แม้คิวบาในต้นทศวรรษ
1990 จะเป็นตลาดส่งออกข้าวและจักรยานอันดับที่ 1 และ 3 ของจีนตามลำดับ และยังเป็นแหล่งนำเข้าน้ำตาลอันดับที่
1 ของจีนอีกด้วย (ดูตารางที่ 3, 4
และ 5) ทว่ามูลค่าการค้าโดยรวมระหว่างจีนกับคิวบากลับลดลงหลังจากขึ้นสู่จุดสูงสุดที่
578.15 ล้านเหรียญสหรัฐใน ค.ศ. 1990
ตรงข้ามกับมูลค่าการค้าโดยรวมระหว่างจีนกับลาตินอเมริกาในช่วงเวลาเดียวกันที่เพิ่มขึ้น
ดังจะเห็นได้ว่าใน ค.ศ. 1990 มูลค่าการค้าระหว่างจีนกับคิวบาคิดเป็นร้อยละ
25.26 ของมูลค่าการค้าที่จีนทำกับลาตินอเมริกาทั้งหมด
แต่พอถึง ค.ศ. 1995 กลับคิดเป็นเพียงร้อยละ 5.89 เท่านั้น (ดูตารางที่ 6) หรือกล่าวได้ว่าในความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างสองฝ่ายนั้น
คิวบาต้องพึ่งพาจีนมากกว่าที่จีนพึ่งพาคิวบา
นอกจากจะพึ่งพาจีนในทางเศรษฐกิจแล้ว
คิวบายังต้องการที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับการปฏิรูปเศรษฐกิจจากประสบการณ์ของจีนอีกด้วย
โดยแสดงความสนใจในเรื่องนี้มาตั้งแต่กลางทศวรรษ 1980 เมื่อมีการปรับเปลี่ยนนโยบายของสหภาพโซเวียตในยุคกอร์บาชอฟ
ดังที่ใน ค.ศ. 1986 ที่เปเลกริน ทอร์ราสได้ถามเจ้าหน้าที่ของสำนักข่าวซินหัวที่มาเยือนคิวบาถึงวิธีการที่จีนใช้ในการควบคุมทุนต่างชาติและป้องกันไม่ให้เกิดชนชั้นกระฏุมพีในภาคเกษตรกรรม[5]
และใน ค.ศ. 1989 ฟิเดล คาสโตรก็ถามเฉียนฉีเชินถึงการพัฒนาด้านต่างๆ
ของจีนอย่างละเอียดและกินเวลาตั้งแต่งานเลี้ยงอาหารค่ำไปถึงเที่ยงคืน จนล่ามภาษาสเปนของจีนกล่าวอย่างขบขันว่าในภายหลังว่า
เฉียนฉีเชินต้องตอบคำถามนับแสนเลยทีเดียว[6]
ต่อมาในการเยือนคิวบาของอู๋ปังกั๋ว (Wu Bangguo) เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำมหานครเซี่ยงไฮ้เมื่อ
ค.ศ. 1994 ฟิเดล คาสโตรแสดงความสนใจต่อการพัฒนาของเซี่ยงไฮ้เป็นอย่างมาก
โดยถามอู๋ปังกั๋วทั้งเรื่องเขตใหม่ผู่ตง การดำเนินโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่
การดึงดูดและจัดการทุนต่างชาติ เงินเดือนและที่อยู่อาศัยของคนงาน ความสัมพันธ์ระหว่างเซี่ยงไฮ้กับมณฑลอื่นๆ
สภาพการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ การรับมือกับปัญหาคนตกงาน การแบ่งอำนาจระหว่างส่วนกลางกับส่วนท้องถิ่น
และการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ[7]
และเมื่อฟิเดล คาสโตรเดินทางเยือนจีนใน ค.ศ. 1995 เขาได้ไปดูงานด้านการพัฒนาในหลายเมืองของจีนซึ่งรวมถึงเซี่ยงไฮ้และเซินเจิ้น
โดยเจียงเจ๋อหมินได้พาเขาดูงานด้านการพัฒนาที่เซินเจิ้นด้วยตนเอง
-----------------------------------------------
[1] ผังปิ่งอัน, เรื่องเดียวกัน, 78.
[2] Carmelo Mesa-Lago, “Cuba’s Economic Policies and
Strategies for Confronting the Crisis,” in Cuba After the Cold War, 199.
[3] เฉินจิ่วฉาง, เรื่องเดียวกัน, 305;
Choy et al., ibid., 127.
[4] เฉินจิ่วฉาง, เรื่องเดียวกัน, 307-308.
[5] ผังปิ่งอัน, เรื่องเดียวกัน, 56.
[6] เฉียนฉีเชิน, เรื่องเดียวกัน, 170.
[7] หลี่เป๋ยไห่, เรื่องเดียวกัน.
ตารางที่
3
มูลค่าการส่งออกจักรยานจากจีนไปยังคิวบาช่วง
ค.ศ. 1990 – 1993
ค.ศ.
|
(1)
มูลค่าที่ส่งออกไปยังคิวบา
(ล้านเหรียญสหรัฐ)
|
(2)
มูลค่าที่ส่งออกไปทั่วโลก
(ล้านเหรียญสหรัฐ)
|
ร้อยละของ
(1) ต่อ
(2)
|
อันดับของคิวบา
ในการเป็นตลาดส่งออกจักรยานจากจีน
|
1990
|
7.40
|
144.92
|
5.12
|
3*
|
1991
|
30.24
|
358.38
|
8.44
|
3*
|
1992
|
21.58
|
433.32
|
4.98
|
3*
|
1993
|
15.92
|
420.65
|
3.78
|
6**
|
ที่มาของตาราง: กั๋วเจียถ่งจี้จวี๋เม่าอี้ว่ายจิงถ่งจี้ซือ (บก.), จงกั๋วตุ้ยว่ายจิงจี้ถ่งจี้เหนียนเจี้ยน
อีจิ่วจิ่วซื่อ (สถิติด้านความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศของจีน 1994)
(เป่ยจิง: จงกั๋วถ่งจี้ชูป่านเส้อ, 1995),
204-208.
ตารางที่
4
ปริมาณการส่งออกข้าวจากจีนไปยังคิวบาช่วง
ค.ศ. 1989 – 1993
ค.ศ.
|
(1)
ปริมาณที่ส่งออกไปยังคิวบา
(ตัน)
|
(2)
ปริมาณที่ส่งออกไปทั่วโลก
(ตัน)
|
ร้อยละของ
(1) ต่อ
(2)
|
อันดับของคิวบา
ในการเป็นตลาดส่งออกข้าวจากจีน
|
1989
|
9,999
|
339,209
|
2.95
|
6*
|
1990
|
27,750
|
302,806
|
9.16
|
5**
|
1991
|
101,780
|
691,627
|
14.72
|
2***
|
1992
|
196,123
|
1,204,439
|
16.26
|
1
|
1993
|
278,509
|
1,708,590
|
16.30
|
1
|
ที่มาของตาราง:
Editorial Board of the Almanac of China’s Foreign Economic Relations and Trade
(ed.), Almanac of China’s Foreign Economic Relations and Trade 1991
(Hong Kong: China Resources Advertising Co., 1991), 509; Editorial Board of the
Almanac of China’s Foreign Economic Relations and Trade (ed.), Almanac of
China’s Foreign Economic Relations and Trade 1993 (Hong Kong: China Resources
Advertising Co., 1993), 597-598; Editorial Board of the Almanac of China’s
Foreign Economic Relations and Trade (ed.), Almanac of China’s Foreign
Economic Relations and Trade 1994 (Hong Kong: China Resources Advertising
Co., 1994), 614-615.
ตารางที่
5
มูลค่าการนำเข้าน้ำตาลจากคิวบาของจีนช่วง
ค.ศ. 1990 – 1995
ค.ศ.
|
(1)
มูลค่าการนำเข้าจากคิวบา
(ล้านเหรียญสหรัฐ)
|
(2)
มูลค่าการนำเข้าจากทั่วโลก
(ล้านเหรียญสหรัฐ)
|
ร้อยละของ
(1) ต่อ
(2)
|
อันดับของคิวบา
ในการเป็นแหล่งนำเข้าน้ำตาล
มายังจีน
|
1990
|
245.70
|
316.33
|
77.67
|
1
|
1991
|
178.14
|
241.34
|
73.81
|
1
|
1992
|
181.44
|
249.29
|
72.77
|
1
|
1993
|
64.56
|
136.09
|
47.44
|
1
|
1994
|
113.56
|
385.21
|
29.48
|
1
|
1995
|
212.86
|
777.95
|
27.36
|
2
|
ที่มาของตาราง: กั๋วเจียถ่งจี้จวี๋เม่าอี้ว่ายจิงถ่งจี้ซือ (บก.), จงกั๋วตุ้ยว่ายจิงจี้ถ่งจี้เหนียนเจี้ยน
อีจิ่วจิ่วซื่อ (สถิติด้านความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศของจีน 1994)
(เป่ยจิง: จงกั๋วถ่งจี้ชูป่านเส้อ, 1995),
213; กั๋วเจียถ่งจี้จวี๋เม่าอี้ว่ายจิงถ่งจี้ซือ (บก.), จงกั๋วตุ้ยว่ายจิงจี้ถ่งจี้เหนียนเจี้ยน
อีจิ่วจิ่วปา (สถิติด้านความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศของจีน 1998)
(เป่ยจิง: จงกั๋วถ่งจี้ชูป่านเส้อ, 1999),
232-233.
ตารางที่
6
มูลค่าการค้าระหว่างจีนกับคิวบาช่วง
ค.ศ. 1989 – 1995
ค.ศ.
|
(1)
มูลค่าการค้าระหว่างจีนกับคิวบา
(ล้านเหรียญสหรัฐ)
|
(2)
มูลค่าการค้าระหว่างจีนกับลาตินอเมริกาทั้งหมด
(ล้านเหรียญสหรัฐ)
|
ร้อยละของ
(1) ต่อ (2)
|
1989
|
441.29
|
2,968.78
|
14.86
|
1990
|
578.81
|
2,291.05
|
25.26
|
1991
|
426.05
|
2,357.79
|
18.07
|
1992
|
383.07
|
2,975.73
|
12.87
|
1993
|
250.68
|
3,706.87
|
6.76
|
1994
|
267.82
|
4,702.13
|
5.70
|
1995
|
359.89
|
6,114.16
|
5.89
|
ที่มาของตาราง:
กั๋วเจียถ่งจี้จวี๋ (บก.), จงกั๋วถ่งจี้เหนียนเจี้ยน
อีจิ่วจิ่วอี (สถิติรายปีของจีน 1991) (เป่ยจิง:
จงกั๋วถ่งจี้ชูป่านเส้อ, 1991), 622; กั๋วเจียถ่งจี้จวี๋
(บก.), จงกั๋วถ่งจี้เหนียนเจี้ยน อีจิ่วจิ่วซาน (สถิติรายปีของจีน 1993)
(เป่ยจิง: จงกั๋วถ่งจี้ชูป่านเส้อ, 1993),
640; กั๋วเจียถ่งจี้จวี๋ (บก.), จงกั๋วถ่งจี้เหนียนเจี้ยน อีจิ่วจิ๋วอู่
(สถิติรายปีของจีน 1995) (เป่ยจิง: จงกั๋วถ่งจี้ชูป่านเส้อ, 1995), 545; กั๋วเจียถ่งจี้จวี๋
(บก.), จงกั๋วถ่งจี้เหนียนเจี้ยน อีจิ่วจิ่วลิ่ว (สถิติรายปีของจีน 1996)
(เป่ยจิง: จงกั๋วถ่งจี้ชูป่านเส้อ, 1996),
588.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น