วันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
วันเสาร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับเกาหลีเหนือยุคหลังสงครามเย็น (ตอนที่ 19)
จีนกับการสืบทอดอำนาจทางการเมืองในเกาหลีเหนือจากคิมจองอิลสู่คิมจองอึน
คิมจองอิลมีอายุครบ 60
ปีใน ค.ศ. 2002 เดิมผู้สังเกตการณ์เกาหลีเหนือวิเคราะห์ว่าคิมจองอิลน่าจะให้บุตรชายคนโตนามว่า
คิมจองนาม (Kim Jong Nam เกิด ค.ศ. 1971) ซึ่งเกิดจากซงเฮริม (Song Hye Rim)
เป็นผู้สืบทอดอำนาจทางการเมือง หากแต่จุดอ่อนของคิมจองนามก็คือการที่ซงเฮริมผู้เป็นมารดาเคยแต่งงานมาแล้วและไม่ได้รับการยอมรับจากคิมอิลซุงให้เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว
และเมื่อซงเฮริมเสียชีวิตใน ค.ศ. 2002 ทางการเกาหลีเหนือได้เริ่มสร้างลัทธิบูชาบุคคลให้กับโกยองฮี (Ko Young Hee) ภรรยาอีกคนหนึ่งของคิมจองอิล
ทำให้มีการคาดหมายกันว่าผู้ที่จะสืบทอดอำนาจทางการเมืองต่อไปน่าจะเป็นบุตรชายคนใดคนหนึ่งของนางซึ่งได้แก่
คิมจองโชล (Kim Jong Chol เกิด ค.ศ. 1981) และคิมจองอึน (Kim Jong Un เกิด ค.ศ. 1983)[1] อย่างไรก็ตาม เมื่อคิมจองอิลล้มป่วยด้วยโรคเส้นโลหิตในสมองแตกในเดือนสิงหาคม
ค.ศ. 2008
ก็ยังไม่มีการกำหนดอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับผู้สืบทอดอำนาจทางการเมือง
การล้มป่วยหนักของคิมจองอิลโดยที่ยังไม่มีการกำหนดทายาททางการเมืองอย่างชัดเจน
รวมทั้งการยุตินโยบายตะวันฉายของเกาหลีใต้และวิกฤตการณ์นิวเคลียร์ที่ยังไม่คลี่คลายได้สร้างความกังวลใจให้กับจีนเกี่ยวกับเสถียรภาพทางการเมืองในเกาหลีเหนือและสถานการณ์บนคาบสมุทรเกาหลี
จีนจึงมีปฏิกิริยาต่อการปล่อยดาวเทียมของเกาหลีเหนือในวันที่ 5 เมษายน ค.ศ. 2009 อย่างระมัดระวังและหลีกเลี่ยงที่จะเพิ่มแรงกดดันเกาหลีเหนือ
โดยเมื่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้จัดการประชุมด่วนในบ่ายวันนั้น ซูซาน
ไรซ์ (Susan Rice)
เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำองค์การสหประชาชาติที่เรียกร้องให้คณะมนตรีฯ
“ดำเนินการร่วมกันอย่างแข็งขัน (strong collective action)” ต่อเกาหลีเหนือ
อีกทั้งยังได้ประสานงานกับสหราชอาณาจักรฯ
และเกาหลีใต้ในการร่างมติลงโทษเกาหลีเหนือเอาไว้แล้ว[2] แต่จางเย่สุ้ย
(Zhang Yesui) เอกอัครราชทูตจีนประจำองค์การสหประชาชาติก็ขอให้คณะมนตรีฯ
มีปฏิกิริยาต่อเรื่องนี้อย่างระมัดระวังและในระดับที่เหมาะสม (cautious and
proportionate)[3] ทำให้ในที่สุดคณะมนตรีฯ
จึงออกแต่เพียงแถลงการณ์ของประธาน (presidential statement) ในวันที่
13 เมษายนโดยเรียกร้องให้เกาหลีเหนือเคารพมติที่ 1718
และสนับสนุนให้ใช้การประชุมษัฏภาคีในการเจรจาแก้ไขปัญหา[4]
แม้ว่าจีนจะหันมากดดันเกาหลีเหนือมากยิ่งขึ้นหลังการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือเป็นครั้งที่
2 ในวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 2009 โดยร่วมมือกับสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในมติที่
1874 เมื่อวันที่ 12 มิถุนายนของปีนั้นเพื่อการคว่ำบาตรเกาหลีเหนือเพิ่มเติม
ไม่ว่าจะเป็นการงดซื้อขายอาวุธทุกชนิดกับเกาหลีเหนือ (ยกเว้นอาวุธเบา)
การห้ามให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่เกาหลีเหนือ
(ยกเว้นความช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรมและการพัฒนาในทางพลเรือน) แต่จีนยังคงจุดยืนเดิมที่ไม่สนับสนุนการใช้มาตรการทางทหารกับเกาหลีเหนือโดยระบุว่าอธิปไตย
บูรณภาพแห่งดินแดน ข้อกังวลด้านความมั่นคงที่มีเหตุผล
และสิทธิในการพัฒนาของเกาหลีเหนือในฐานะประเทศเอกราชและสมาชิกองค์การสหประชาชาตินั้นเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายควรให้ความเคารพ
และควรใช้การเจรจาเพื่อแก้ปัญหาอย่างสันติ[5] ต่อมาเมื่อเกาหลีเหนือทดลองยิงขีปนาวุธจำนวน 7
ลูกลงในทะเลญี่ปุ่นอีกในวันที่ 4 กรกฎาคมของปีเดียวกันซึ่งตรงกับวันชาติสหรัฐอเมริกา
จีนก็ยังคงขอให้ทุกฝ่ายสงบนิ่งและมีความยับยั้งชั่งใจ[6] และในระหว่างการเยือนสหรัฐอเมริกาของสวีไฉโห้ว
(Xu Caihou) รองประธานกรรมาธิการทหารแห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีนเมื่อเดือนตุลาคมของปีนั้น
โรเบิร์ต เกตส์ (Robert Gates) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาได้ถือโอกาสหารือเกี่ยวกับมาตรการที่จะใช้ในการรับมือกับเกาหลีเหนือ
แต่สวีไฉโห้วตอบแต่เพียงสั้นๆ ว่า
“ขอบคุณสำหรับความเห็นของคุณเกี่ยวกับเกาหลีเหนือ”[7]
ความพยายามของจีนที่จะลดแรงกดดันต่อเกาหลีเหนือเพื่อประคับประคองสถานการณ์บนคาบสมุทรเกาหลีเอาไว้ให้มีเสถียรภาพมากที่สุดในยามที่ยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับการสืบทอดอำนาจในกรุงเปียงยางนั้นเห็นได้ชัดอีกครั้งหลังการจมของเรือโชนัน
(Cheonan) ของกองทัพเรือเกาหลีใต้ในทะเลเหลืองเมื่อวันที่ 26
มีนาคม ค.ศ. 2010 ซึ่งมีลูกเรือเสียชีวิต 46
คน และคณะผู้เชี่ยวชาญจากเกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย
และสวีเดนได้เสนอรายงานการสืบสวนเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคมของปีนั้นโดยสรุปว่าเรือลำดังกล่าวถูกยิงโดยตอร์ปิโดจากเรือดำน้ำของเกาหลีเหนือ
แต่หม่าจาวซวี่ (Ma Zhaoxu) โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของจีนกลับระบุว่าเรื่องดังกล่าวมีความซับซ้อนและจีนก็ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรง
จีนจึงต้องรับฟังและประเมินข้อมูลจากฝ่ายต่างๆ อย่างรอบด้าน[8]
โจวหย่งคัง (คนที่สองจากขวา) กรรมการประจำกรมการเมืองของจีนเยือนกรุงเปียงยางเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 2010
การสืบทอดอำนาจทางการเมืองในเกาหลีเหนือมีความชัดเจนมากขึ้นเมื่อพรรคกรรมกรเกาหลีจัดประชุมสมัชชาพรรคครั้งแรกในรอบ
30 ปีในวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 2010
โดยคิมจองอึน บุตรชายคนเล็กของคิมจองอิลได้รับการประดับยศเป็นนายพลและดำรงตำแหน่งรองประธานคณะกรรมาธิการทหารส่วนกลางของพรรค
ซึ่งเท่ากับว่าเขาคือว่าที่ผู้นำรุ่นต่อไป และเกาหลีเหนือก็ได้เชิญผู้นำระดับสูงของจีนให้ไปร่วมงานฉลอง
65 ปีของพรรคกรรมกรเกาหลีในเดือนตุลาคมของปีเดียวกัน
ซึ่งจีนได้ส่งโจวหย่งคัง (Zhou Yongkang) กรรมการประจำกรมการเมืองและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพิทักษ์สันติราษฎร์เดินทางไปร่วมงานโดยได้รับเกียรติให้ยืนติดกับคิมจองอิลในพิธีสวนสนาม[9] ซึ่งน่าจะเป็นครั้งแรกที่ผู้นำระดับสูงของจีนได้พบกับคิมจองอึน
และด้วยเหตุที่จีนต้องการให้การสืบทอดอำนาจในเกาหลีเหนือดำเนินไปอย่างราบรื่น
จีนจึงละเว้นการกดดันเกาหลีเหนือที่ยิงถล่มเกาะยอนเปียง (Yeonpyeong) ของเกาหลีใต้เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายนของปีนั้นจนมีผู้เสียชีวิต
4 คน โดยหงเหล่ย (Hong Lei) โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของจีนได้แต่ออกมาแสดงความเสียใจต่อสูญเสียที่เกิดขึ้น
และเมื่อนักข่าวถามว่าควรนำเรื่องนี้เข้าสู่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติหรือไม่
เขาก็ตอบแต่เพียงว่าเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้ควรใช้การเจรจาพูดคุยกัน[10] ต่อมาในการเดินทางเยือนเกาหลีเหนือของเมิ่งเจี้ยนจู้
(Meng Jianzhu) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพิทักษ์สันติราษฎร์ของจีนเมื่อวันที่
13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 เขาก็ได้แสดงความชื่นชมต่อการที่เกาหลีเหนือสามารถจัดการเรื่องผู้สืบทอดอำนาจได้สำเร็จ[11]
ซึ่งเท่ากับเป็นการยอมรับสถานะว่าที่ผู้นำของคิมจองอึนนั่นเอง
----------------------------
[1] Seong – Chang Cheong, “A Study on North Korea’s Power
Succession in Kim Jong Il’s Regime,” East Asian Review 17, no. 1 (Spring
2005): 24-25.
[2] “UN Security Council meets on DPRK rocket launch,”
Xinhua News Agency, 6 April 2009, available from
http://news.xinhuanet.com/english/2009-04/06/content_11136566.htm, accessed 1
May 2014.
[3] Ibid.
[4] “UN Security Council Statement on N. Korea,” Reuters,
14 April 2009, available from http://in.reuters.com/article/2009/04/13/korea-north-un-text-idINN1333144920090413,
accessed 1 May 2014.
[5] “Security Council, acting unanimously, condemns in
strongest terms Democratic People’s Republic of Korea nuclear test, toughens
sanctions,” UN News Centre, 12 June 2009, available from
http://www.un.org/News/Press/docs//2009/sc9679.doc.htm, accessed 1 May 2014.
[6] “China hope relevant sides of Korea nuke issue remain
calm, restraint,” Xinhua News Agency, 5 July 2009, available from
http://news.xinhuanet.com/english/2009-07/05/content_11655220.htm, accessed 1
May 2014.
[7] Robert. M. Gates, Duty: memoirs of a Secretary at
war (New York, NY: Alfred A. Knof, 2014), 414.
[8] “Foreign Ministry Spokeperson Ma Zhaoxu’s Regular
Press Conference on May 27, 2010,” Embassy of the People’s Republic of China in
the Federal Republic of Germany, available from http://de.chineseembassy.org/det/fyrth/t705632.htm, accessed 31 May
2014.
[9] “Senior Chinese official observes DPRK grand parade,”
Xinhua News Agency, 10 October 2010, available from http://www.china.org.cn/world/2010-10/10/content_21093037.htm,
accessed 31 May 2014.
[10] “Hong Lei, China’s Response to the Yeonpyeong Island
Incident, November 25, 2010,” University of Southern California’s US-China
Institute, available from http://china.usc.edu/Default.aspx, accessed 31 May
2014.
[11] Jeremy Laurence, “China openly backs North Korea
succession plan – report,” Reuter, 15 February 2011, available from http://uk.reuters.com/article/2011/02/15/uk-korea-north-idUKTRE71E0J120110215,
accessed 31 May 2014.
[12] “หานเหมยเชิงจินเจิ้งเอินซื่อเยว่เจียงตานตู่ฝ่างฮว๋า,”
(สื่อเกาหลีใต้รายงานว่าคิมจองอึนจะเดินทางเยือนจีนคนเดียวในเดือนเมษายน) ข่าวบีบีซี
(ภาคภาษาจีน), สืบค้นจาก http://www.bbc.co.uk/zhongwen/simp/world/2011/03/110326_brief_nkorea_china_kim.shtml, เมื่อวันที่
31 พฤษภาคม 2014.
[13] Peter M. Beck, “North Korea in 2011: The Next Kim
Takes the Helm,” Asian Survey 52 (January/February 2012): 68.
[14] “China expresses condolences on Kim’s death,” China
Daily, 19 December 2011, available from http://www.chinadaily.com.cn/china/2011-12/19/content_14288718.htm,
accessed 31 May 2014.
วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับเกาหลีเหนือยุคหลังสงครามเย็น (ตอนที่ 18)
การลงทุน
ในทศวรรษ 2000 จีนเป็นประเทศที่เข้าไปลงทุนรายใหญ่ที่สุดในเกาหลีเหนือ โดยการลงทุนของจีนเพิ่มขึ้นอย่างมากหลัง
ค.ศ. 2005 (ดูตารางที่ 13) ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยจากทั้งฝ่ายเกาหลีเหนือและฝ่ายจีน
กล่าวคือ ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2002 ทางการเกาหลีเหนือได้ออก
“มาตรการปรับปรุงการจัดการทางเศรษฐกิจ” (Economic Management Improvement
Measures)
ซึ่งเป็นการปฏิรูปเศรษฐกิจและส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ[1] ขณะที่ในเดือนตุลาคม
ค.ศ. 2003 ทางการจีนได้ออก “นโยบายฟื้นฟูภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”
(Revive the Northeast) อันประกอบไปด้วยมณฑลเหลียวหนิง
จี๋หลิน และเฮยหลงเจียงซึ่งเคยเป็นแหล่งอุตสาหกรรมหนักและที่ตั้งของวิสาหกิจขนาดใหญ่ของรัฐซึ่งเคยเฟื่องฟูอย่างมากหลังการปฏิวัติ
ค.ศ. 1949 แต่เมื่อเข้าสู่ยุคปฏิรูปและเปิดประเทศในปลายทศวรรษ
1970 มณฑลเหล่านี้ก็มีความสำคัญทางเศรษฐกิจน้อยลงเมื่อเปรียบเทียบกับมณฑลชายฝั่งทะเล
ดูได้จากสัดส่วนของมูลค่าสุทธิของผลผลิตด้านอุตสาหกรรม (Gross Value of
Industrial Output – GVIO) ของภูมิภาคนี้เมื่อเทียบกับทั้งประเทศลดลงจากร้อยละ
16.5 ใน ค.ศ. 1978 เหลือเพียงร้อยละ 9.3 ใน ค.ศ. 2003[2] และหนึ่งวิธีการฟื้นฟูพลังทางเศรษฐกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีนก็คือ
การแสวงหาโอกาสทางเศรษฐกิจจากประเทศเพื่อนบ้าน
ซึ่งมณฑลเหลียวหนิงและมณฑลจี๋หลินต่างมีพรมแดนติดต่อกับเกาหลีเหนือ โดยหลังจากที่หูจิ่นเทาเดินทางไปเยือนเกาหลีเหนือเมื่อเดือนตุลาคม
ค.ศ. 2005 หวังเจียรุ่ย
รัฐมนตรีทบวงวิเทศสัมพันธ์แห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ออกมาแถลงผลการเยือนในครั้งนั้นซึ่งมีความตอนหนึ่งระบุว่าจีนสนับสนุนการเข้าไปลงทุนในเกาหลีเหนือ
และเกาหลีเหนือก็ยินดีต้อนรับการลงทุนดังกล่าว[3]
ข้อที่น่าสังเกตเกี่ยวกับการลงทุนของจีนในเกาหลีเหนือมีอยู่ด้วยกัน
3 ประการ ประการแรก วิสาหกิจของจีนที่เข้าไปลงทุนส่วนใหญ่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมซึ่งกล้าเสี่ยงเข้าไปบุกเบิกตลาดใหม่
ขณะที่วิสาหกิจขนาดใหญ่ไม่สนใจเข้าไปลงทุนเนื่องจากมองไม่เห็นลู่ทางการเติบโตในเกาหลีเหนือ
[4] ประการที่สอง
การลงทุนส่วนใหญ่ของจีนในเกาหลีเหนือมุ่งไปที่การขุดเจาะทรัพยากรธรรมชาติ เช่น เหล็ก
ถ่านหิน ทอง ทองแดง เป็นต้น[5] และมีนักวิชาการมองว่าอาจเป็นอุปสรรคของเกาหลีเหนือในการหลุดพ้นจากการเป็นประเทศที่พึ่งพารายได้จากทรัพยากรธรรมชาติ
(resource dependency) ไปเป็นประเทศอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก (export-oriented
industrialization)[6] ประการที่สาม แม้จีนจะเป็นประเทศผู้ลงทุนรายใหญ่ที่สุดในเกาหลีเหนือ
แต่การลงทุนดังกล่าวก็คิดเป็นสัดส่วนน้อยมากเมื่อเทียบกับการลงทุนโดยตรงทั้งหมดของจีนในต่างประเทศ
ซึ่งจากตารางที่ 18 จะเห็นได้ว่าใน ค.ศ. 2008 ที่จีนเข้าไปลงทุนโดยตรงในเกาหลีเหนือเป็นจำนวน 41.23 ล้านเหรียญสหรัฐหรือคิดเป็นร้อยละ 93.7 ของการลงทุนโดยตรงของต่างชาติในเกาหลีเหนือทั้งหมด
แต่จำนวนดังกล่าวเป็นเพียงร้อยละ 0.07 ของการลงทุนโดยตรงของจีนในต่างประเทศ
ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าเกาหลีเหนือต้องพึ่งพาการลงทุนจากจีนเป็นอย่างมาก
แต่เกาหลีเหนือก็ไม่ใช่จุดหมายสำคัญของนักลงทุนจีนส่วนใหญ่แต่อย่างใด
การชักจูงให้เกาหลีเหนือปฏิรูปเศรษฐกิจ
แม้ว่าในการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับเกาหลีเหนือตั้งแต่
ค.ศ. 1999 เป็นต้นมา
จีนจะแสดงความเคารพต่อเส้นทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่มีลักษณะเฉพาะของเกาหลีเหนือ[7]
แต่ผู้นำของจีนก็มิได้ลดละความพยายามที่จะให้เกาหลีเหนือหันมาดำเนินนโยบายปฏิรูปและเปิดประเทศตามแบบตนเพื่อเสถียรภาพในระยะยาว
ดังเช่นในการเยือนจีนของคิมจองอิลเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 2001
เขาได้ไปดูงานด้านการพัฒนาเศรษฐกิจที่มหานครเซี่ยงไฮ้โดยมีจูหรงจี นายกรัฐมนตรีของจีนเป็นผู้พาชมด้วยตนเอง
ซึ่งคิมจองอิลได้กล่าวชื่นชมว่าเซี่ยงไฮ้เจริญก้าวหน้ากว่าเมื่อครั้งที่เขามาเยือนเมื่อ
18 ปีที่แล้วมาก[8]
และต่อมาในเดือนกันยายน ค.ศ. 2002 ทางการเกาหลีเหนือก็ได้ประกาศให้เมืองซินุยจู
(Sinuiju) ซึ่งตั้งอยูริมฝั่งแม่น้ำยาลู่ตรงข้ามกับเมืองตานตงของจีนเป็นเขตบริหารพิเศษ
(Special Administrative Region - SAR) เพื่อทดลองเปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศโดยมีหยางปิน
(Yang Bin) นักธุรกิจจีนสัญชาติเนเธอร์แลนด์เป็นผู้บริหารเขตดังกล่าว
แม้การก่อตั้งเขตบริหารพิเศษของเกาหลีเหนือนั้นจะตรงกับความปรารถนาของจีนที่ต้องการให้เกาหลีเหนือปฏิรูปเศรษฐกิจ
หากแต่การเลือกสถานที่อย่างเมืองซินุยจูซึ่งอยู่ตรงข้ามเมืองตานตงก็สร้างความกังวลให้กับจีน
เนื่องจากในต้นทศวรรษ 2000 เศรษฐกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจีนยังอยู่ในสภาวะซบเซา
จีนจึงเกรงว่าการก่อตั้งเขตบริหารพิเศษของเกาหลีเหนือจะยิ่งดึงดูดนักลงทุนชาวต่างชาติไปยังเมืองซินุยจูและซ้ำเติมปัญหาทางเศรษฐกิจในพื้นที่ดังกล่าวของจีนมากยิ่งขึ้นไปอีก
และจูหรงจีได้เคยแนะนำคิมจองอิลไปแล้วว่าเมืองแกซอง (Gaeseong) ซึ่งอยู่ติดกับเกาหลีใต้นั้นเหมาะสมจะเป็นเขตบริหารพิเศษมากกว่า[9] ทำให้หลังจากก่อตั้งเขตบริหารพิเศษดังกล่าวได้เพียงไม่กี่สัปดาห์
หยางปินก็ถูกเจ้าหน้าที่ของกระทรวงพิทักษ์สันติราษฎร์ของจีนจับกุมตัวเมื่อต้นเดือนตุลาคม
ค.ศ. 2002 ด้วยข้อหาเลี่ยงภาษีและถูกศาลพิพากษาจำคุก
18 ปี
และการพัฒนาเขตบริหารพิเศษซินุยจูของเกาหลีเหนือต้องหยุดชะงักลง
อย่างไรก็ตาม ปฏิสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นระหว่างจีนกับเกาหลีเหนือตลอดทศวรรษ
2000 ทำให้จีนหันมาในความสนใจพื้นที่บริเวณนี้อีกครั้ง โดยโครงการสำคัญซึ่งปรากฏขึ้นในปลายทศวรรษ
2000 ต่อต้นทศวรรษ 2010 ประกอบไปด้วยการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำยาลู่เพื่อเชื่อมเมืองตานตงเข้ากับเมืองซินุยจูเพิ่มอีก
1 สะพาน และการพัฒนาระบบขนส่งสินค้าจากเมืองตานตงไปยังเมืองอื่นๆ
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีนเพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าและทรัพยากรธรรมชาติที่มาจากเกาหลีเหนือ[10] ขณะที่ในเขตลุ่มแม่น้ำถูเหมิน
เมื่อเกาหลีเหนือรื้อฟื้นเขตเศรษฐกิจและการค้าเสรีนาจิน-ซอนบองขึ้นมาใหม่ใน ค.ศ. 2010
โดยใช้ชื่อว่าเมืองพิเศษนาซอน (Rason Special City) จีนก็ได้เข้าไปช่วยสร้างถนนในเขตเมืองดังกล่าวโดยแลกกับการได้สิทธิขนส่งสินค้าเข้าและออกผ่านเมืองพิเศษนาซอนซึ่งเป็นเมืองท่าชายฝั่งทะเลญี่ปุ่น[11] หรือเท่ากับเป็นการหาทางออกทะเลให้กับมณฑลจี๋หลินและมณฑลเฮยหลงเจียงของจีนนั่นเอง
โครงการเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าจีนมีแนวโน้มที่จะรุกเร้าให้เกาหลีเหนือเปิดประเทศและปฏิรูปเศรษฐกิจมากขึ้นเรื่อยๆ
จากทั้งหมดที่กล่าวมานี้จะเห็นได้ว่า
ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างจีนกับเกาหลีเหนือเป็นไปในลักษณะที่เกาหลีเหนือต้องพึ่งพาจีนทั้งในด้านความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ
การค้า และการลงทุนมากกว่าที่จีนจะเป็นฝ่ายพึ่งพาเกาหลีเหนือ
จึงถือเป็นเป็นการพึ่งพากันและกันแบบไม่สมดุล ลักษณะดังกล่าวน่าจะทำให้จีนมีอิทธิพลในการกำหนดพฤติกรรมของเกาหลีเหนือให้เป็นไปในทางที่จีนต้องการได้
แต่ในความเป็นจริงแล้ว การที่เกาหลีเหนือไม่ยอมล้มเลิกโครงการนิวเคลียร์และยังคงแสดงพฤติกรรมที่แข็งกร้าวอยู่นั้นสะท้อนให้เห็นว่า
แรงจูงใจทางเศรษฐกิจของจีนต่อเกาหลีเหนือนั้นสามารถกำหนดพฤติกรรมของเกาหลีเหนือได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น
เช่น การที่จีนสร้างโรงงานผลิตแก้วมูลค่า 24
ล้านเหรียญสหรัฐให้แก่เกาหลีเหนือเมื่อ ค.ศ. 2003 เพื่อแลกกับการที่เกาหลีเหนือยอมเข้าประชุมษัฏภาคีรอบที่
2 เป็นต้น
แต่ไม่อาจทำให้เกาหลีเหนือล้มเลิกโครงการนิวเคลียร์และพฤติกรรมที่แข็งกร้าวอย่างถาวรได้
---------------------
[1] Ibid., 22-23.
[2] Jae Ho Chung, Hongyi Lai and Jang-Hwan Joo,
“Assessing the “Revive the Northeast” (zhenxing dongbei) Programme:
Origins, Policies and Implementation,” The China Quarterly 197 (March
2009): 110.
[3] “จงเหลียนปู้จวี่สิงหูจิ่นเทาจ่งซูจี้ฝ่างเฉาเฉิงกั่วซินเหวินฟาปู้หุ้ย,”
(ทบวงวิเทศสัมพันธ์จัดแถลงข่าวความสำเร็จในการเยือนเกาหลีเหนือของเลขาธิการหูจิ่นเทา)
สำนักข่าวซินหัว, 30 ตุลาคม 2005, สืบค้นจาก http://news.xinhuanet.com/world/2005-10/30/content_3703660.htm,
เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2013.
[4] Jae Cheol Kim, “The Political Economy of Chinese
Investment in North Korea: A Preliminary Assessment,” Asian Survey 46
(November/December 2006): 904.
[5] Nanto and Manyin, “China-North Korea Relations,” 24; Yoon and Lee, “From old comrades to new partnerships,”
17-18.
[6] Balázs Szalontai and Changyong Choi, “China’s
Controversial Role in North Korea’s Economic Transformation: The Dilemmas of
Dependency,” Asian Survey 55 (March/April 2013): 269-291.
[7] “President Jiang Zemin Revisits DPRK in 11 Years,” People’s
Korea 168 (15 September 2001), available from
http://www1.korea-np.co.jp/pk/168th_issue/2001091501.htm, accessed 21 April
2013.
[8] “Kim Jong Il Pays Unofficial Visit to China,” People’s
Korea 154 (25 January 2001), available from
http://www1.korea-np.co.jp/pk/154th_issue/2001012501.htm, accessed 10 April
2014.
[9] Yinhay Ahn, “North Korea in 2002: A Survival Game,” Asian
Survey 43 (January/February 2003): 52.
[10] Yoon and Lee, “From old comrades to new
partnerships,” 26-27.
[11] “DPRK allows China domestic trade cargo to ship via
its port,” China Daily, 4 July 2011, available from http://www.chinadaily.com.cn/bizchina/2011-07/04/content_12831822.htm,
accessed 29 May 2014.
ตารางที่
12
ปริมาณการค้าระหว่างจีนกับเกาหลีเหนือช่วง
ค.ศ. 2000 – 2010
(หน่วย:
ล้านเหรียญสหรัฐ)
ค.ศ.
|
จีนนำเข้าจากเกาหลีเหนือ
|
จีนส่งออกไปเกาหลีเหนือ
|
มูลค่ารวม
|
ร้อยละของการค้าระหว่างจีนกับเกาหลีเหนือต่อการค้ากับต่างประเทศของเกาหลีเหนือทั้งหมด
|
2000
|
37.2
|
450.8
|
488.0
|
20.4
|
2001
|
166.8
|
570.7
|
737.5
|
27.6
|
2002
|
270.7
|
467.3
|
738.0
|
25.4
|
2003
|
395.3
|
627.6
|
1022.9
|
32.8
|
2004
|
585.7
|
799.5
|
1385.2
|
39.0
|
2005
|
499.2
|
1081.2
|
1580.4
|
39.0
|
2006
|
467.7
|
1231.9
|
1699.6
|
39.1
|
2007
|
581.5
|
1392.5
|
1974.0
|
41.7
|
2008
|
754
|
2033.2
|
2787.2
|
49.5
|
2009
|
793
|
1887.7
|
2680.7
|
52.6
|
2010
|
1187.8
|
2277.8
|
3465.6
|
57.0
|
ที่มาของข้อมูล: กระทรวงรวมชาติของเกาหลีใต้, องค์การส่งเสริมการค้าและการลงทุนของเกาหลีใต้
และสถาบันวิจัยฮุนได อ้างถึงใน Seung-Hyun
Yoon and Seung-Ook Lee, “From old comrades to new partnerships: dynamic
development of economic relations between China and North Korea,” The
Geographical Journal 179, no. 2 (March 2013): 22.
ตารางที่
13
การลงทุนโดยตรงของจีนในเกาหลีเหนือช่วง
ค.ศ. 2004 - 2008
(หน่วย:
ล้านเหรียญสหรัฐ)
ค.ศ.
|
(1)
มูลค่าการลงทุนโดยตรงของจีนในเกาหลีเหนือ
|
(2)
มูลค่าการลงทุนโดยตรงของจีนในต่างประเทศ
|
สัดส่วนของ
(1) ต่อ
(2)
|
(3)
มูลค่าการลงทุนโดยตรงของต่างประเทศในเกาหลีเหนือ
|
สัดส่วนของ
(1) ต่อ
(3)
|
2004
|
14.13
|
5497.99
|
0.25%
|
ไม่มีข้อมูล
|
ไม่มีข้อมูล
|
2005
|
6.50
|
12261.17
|
0.05%
|
ไม่มีข้อมูล
|
ไม่มีข้อมูล
|
2006
|
11.06
|
17633.97
|
0.06%
|
105
|
10.5%
|
2007
|
18.40
|
26506.09
|
0.06%
|
67
|
21.5%
|
2008
|
41.23
|
55907.17
|
0.07%
|
44
|
93.7%
|
แหล่งที่มาของข้อมูล: Trevor Clark, “Lips and Teeth: Chinese –
North Korean Trade and Foreign Direct Investment’s Impact,” in SAIS US –
Korea Yearbook 2012 (n.p.: US – Korea Institute at SAIS, 2013): 54; 2010
Statistical Bullitin of China’s Outward Foreign Direct Investment, 82,
available from http://images.mofcom.gov.cn/hzs/accessory/201109/1316069658609.pdf,
accessed 29 May 2014.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)